จะรีบไปไหน...จะรีบไปไหน...รอโหลดซักกะเดี๋ยวนะตะเอง...


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

25 มองโครงการรับจำนำข้าวในสายตาของชาวนาตัวจริง...

@ เมื่อผมไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคมปี 1972.....ผมมีเงินติดตัวไป $80.00... ตอนที่ 8...กลับไปทำงาน 2 job ใหม่ กลับเมืองไทยครั้งแรกหลังจากที่จากมาแล้วเกือบสิบปี เริ่มค้าขาย ชีวิตหักเหอีกครั้ง
@ ชีวิตหมอที่ไม่ได้ไปอเมริกา By: kimeng suk
@ สาเหตุที่มึงป่วย...เพราะ...โง่...
@ โครงการแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 ของนายกฯปู สร้างอัจฉริยะสุดคุ้ม
@ รมว.ศธ. ให้โอวาทแก่นักเรียนโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓
@ ข้อเท็จจริงเรื่องน้ำท่วมสุโขทัย จากคนสุโขทัยตัวจริง & มติชนสัมภาษณ์"หม่อมเต่านา"
@ โอ้กรุงเทพเมืองฟ้าอมร สมเป็นนครมหานที...
@ อยากจะบอกคน กทม. ฝั่งตะวันออก ว่า รัฐบาลเขาเตรียมยังไง เรื่องน้ำ พร้อมภาพประกอบ
@ พิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงฮาจาห์ ฮาฟิซาห์ ซูรูรุล โบเกียะห์ พระธิดาสุลต่านบรูไน
@ ขอต้อนรับ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะ สู่มหานครนิวยอร์ก คลิกที่นี่...
@ มาร์คครับ หยุดเถิดครับ อย่าออกมาพูดเรื่องจริยธรรมให้มากกว่านี้เลยครับ
@ เฉลิมจี้ ปชป.บอกโกงจำนำข้าวให้หาหลักฐานมาแจง ไม่ใช่พูดไปเรื่อยแต่ไม่มีข้อมูล
@ ภาพชุด..นายกฯปู ร่วมประชุม สุดยอด ACD กรอบความร่วมมือเอเชีย ที่คูเวตซิตี้
@ สดุดี..นโยบายบัตรทองประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค
@ ดร.ถวิล อธิการบดี"สจล." เปิดเบื้องหลังค่ายมือถือไม่เคาะราคา 3จี แฉใกล้หมดยุค ระบุล้มประมูล รัฐฯพังยับ
@ นายกฯปูตั้งใจบริหารงานประเทศให้เต็มกำลัง... เรื่องเห็บเหาไม่ต้องพะวง ..ประชาชนจัดการให้..
@ นานาคอมเม้นท์ ถึง..คุณจตุพร พรหมพันธุ์
@ 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? ใครสั่งฆ่า? ... วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544
@ ทักษิณคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน...เพื่อประเทศและประชาชน
@ Obama' ประเด็นที่สื่อไทยเมิน & อัลบั้มโอบามาเยือนไทย 18พ.ย.55

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ โหลดเก็บไว้ในcomเชิญคลิกที่นี่...

อันตราย!!! คุณ"อ่านข้อความยาวๆ"ได้หรือไม่????? คุณพิสูจน์ได้...

การที่เรียกว่า"สมาธิสั้น"นั้นเป็นการเรียกที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก จริงๆแล้วต้องเรียกว่า"สมาธิบกพร่อง" ทั้งนี้เพราะบางคนที่เป็น ไม่ได้มีปัญหาตรงที่มีสมาธิในช่วงสั้นๆ แต่มีปัญหาในเรื่องของ การควบคุมสมาธิและการปรับเปลี่ยนสมาธิ (Selective Attention) มากกว่า



มองโครงการรับจำนำข้าวในสายตาของชาวนาตัวจริง...
By: ถือแถน เว็บบ้านราษฎร์

ผมติดตามการให้ข่าวและชี้ข้อเสียมากมายของโครงการนี้ ของนักวิชาการและผู้ค้าข้าว โหมกระหน่ำผ่านสื่อ ชี้ว่าประเทศจะล่มจมเพราะโครงการนี้เพราะใช้เงินมหาศาล แต่ไม่เห็นมีใครออกมาพูดในมุมของชาวนา และชี้ให้สังคมเห็นว่า การจำนำข้าวเป็นเพียงการเริ่มของการปรับโครงสร้างของการบริหารจัดการข้าว เริ่มตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การขาย และกระจายรายได้พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนา ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร ความสัมพันธ์ของการบริหารจัดการน้ำ 25 ลุ่มน้ำกับการทำนา และอื่นๆอีกมาก ผมจะเสนอความคิดและมุมมองในฐานะชาวนาคนหนึ่งต่อเรื่องดังกล่าว

ชาวนา มีอยู่ สองประเภทครับแบ่งโดยความคุ้นชินและเห็นอยู่ในสังคมของชาวนาเอง

ประเภทแรก เป็นชาวนาที่เป็นเจ้าของที่ดิน และเป็นที่ดินที่ทำเกษตรอย่างอื่นไม่ได้หรือไม่เหมาะ เหมาะที่จะทำนา กลุ่มนี้มีทั้งทำนาเพื่อกิน แล้วเหลือกินก็ขายเป็นรายได้ บางส่วนมีรายได้หลักจากการทำนา แต่บางส่วนมีรายได้หลักมาจากอาชีพอื่นหรือทำการเกษตรอย่างอื่น เช่น ทำสวนผัก สวนผลไม้ อย่างตัวผมเองก็มีรายได้หลักมาจากอาชีพอื่นและทำสวนผลไม้ แต่ทำนาเพราะต้องการที่จะทำข้าวกินและพื้นที่ตรงที่ทำนาเป็นที่ลุ่มทำอย่างอื่นน้ำจะท่วมก็เลยทำนา และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำนาเพราะไม่ต้องการให้ลูกลืมกำพืดของบรรพบุรุษที่เคยทำนา ผมจัดตัวเองไว้อยู่ในกลุ่มชาวนากลุ่มแรกนี้

ชาวนากลุ่มที่สอง เป็นชาวนาที่ทำนาเพื่อเป็นรายได้หลัก ไม่ได้มีอาชีพอื่นเป็นที่มาของรายได้ อาจจะมีที่นาของตัวเอง หรือเช่านาของผู้อื่นทำ การทำจะเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลกำไร ราคาข้าวคือ อนาคตและชีวิตที่จะฝากความหวังไว้ เพราะต้นทุนที่ลงไปนับวันจะสูงขึ้น ผลกระทบต่อชาวนาของโครงการประกันราคา และรับจำนำข้าว จะมีผลกระทบต่อชาวนาในแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน

โครงการรับจำนำข้าวในความรับรู้ของชาวนาเป็นอย่างไร ส่งผลต่อชีวิตชาวนาอย่างไร ผมจะมาเล่าต่อตอนเย็นครับ พอดีมีงานเข้ามาให้ต้องไปทำ จะมาเล่าต่อให้จบนะครับ


ชาวนาทางภาคเหนือและภาคอีสานจะมีวิถีที่ทำนาแบบชาวนากลุ่มที่หนึ่ง ทำนาเพื่อเอาข้าวไว้กิน ข้าวเหลือกินค่อยเอามาขายหรือเอามาจำนำ ในสมัยก่อนข้าวเป็นสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของครอบครัว เพราะถึงจะไม่มีเงินสังคมชนบทก็ยังอยู่ได้ขอให้มีข้าว อาหารอื่นที่เป็นกับข้าวสามารถหาได้จากธรรมชาติ ข้าวจึงเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่เขาหวงแหน วิถีชีวิตชาวนาอีสานสมัยก่อนเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ทุกบ้านจะมียุ้งฉางสำหรับเก็บข้าว ใต้ถุนยุ้งข้าวก็จะเลี้ยงหมูหรือเป็นเล้าไก่ ทรัพยากรข้าวไม่ใช่เพียงอาหารสำหรับคน หากแต่เผื่อแผ่ไปหาสัตว์เลี้ยงหลักประกันอาหารเหล่านี้ด้วย

ข้าวนอกจากจะเป็นอาหารหลัก อาหารรองสารพัดก็มาจากข้าวโดยภูมิปัญญาการดัดแปลงข้าวและการถนอมอาหาร ข้าวหนมหรือขนมสารพัดอย่างมาจากข้าวหรือแป้งของข้าวกว่าครึ่ง ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นก๋วยจั๊บเหล่านี้คือ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากข้าว ที่สาธยายมาเพื่อให้เห็นว่า ข้าวเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าเพียงใดนะครับ

หากวิถีชีวิตของชาวนายังคงเดิมเหมือนเมื่อยี่สิบหรือสามสิบปีก่อน ก็คงไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเพราะชาวบ้านดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ กระนั้นข้าวก็ยังแสดงคุณค่าของความเป็นทรัพย์สินในชุมชนอยู่อย่างต่อเนื่อง อะไรเป็นตัวบ่งชี้เช่นนั้น ผมมองกลับไปในวัยเด็ก ข้าวถึงกับเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าหลากชนิด อย่างที่คนในสังคมเมืองไม่อาจที่จะเคยเห็น หมู่บ้านที่ทำเกลือเอาเกลือมาแลกข้าว มีผัก มีปลาแห้งเอามาแลกข้าว บ้านไหนใกล้แหล่งน้ำทำนาไม่ได้ผลก็จับปลา ทำปลาแดก ปลาร้ามาแลกข้าว เลยไปจนถึงแลกความบันเทิงที่ท่านอาจจะไม่เคยได้ยิน หรือไม่อาจคาดไปถึงว่ามันมีอยู่จริง อย่างหมอลำขอข้าว หรือหนังขอข้าว นี่คือการตอกย้ำความสำคัญของข้าวในสังคมบ้านเรา

การทำนาเมื่อก่อนเป็นการใช้แรงงานในครอบครัว คนทำไม่เคยคิดต้นทุนค่าแรงเพราะ ถ้าไม่ทำนาเขาก็ไม่มีอย่างอื่นทำ ทำให้ต้นทุนการทำนาต่ำ และการทำนาที่อาศัยแรงงานคนและสัตว์เลี้ยงประเภทวัวควายทำให้ได้ปุ๋ยมาใช้ในนาโดยที่ไม่มีต้นทุนค่าปุ๋ย ยิ่งทำให้ต้นทุนทุกด้านต่ำไปอีก และไม่มีใครไปเร่งการผลิตและเร่งผลการผลิตเพราะ ไม่ได้ทำข้าวเพื่อการค้าสักเท่าใด จนกระทั่งวัฒนธรรมการทำนาเปลี่ยนไปเมื่อสักยี่สิบปีมานี้ โดยมีโครงสร้างผลประโยชน์การค้าข้าวมาเป็นตัวทำให้ชีวิตชาวนาเปลี่ยนไป เข้าไปอยู่ในวังวนของการค้าที่ตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคาข้าวที่ตนจะขาย การไม่รู้ชะตาว่าปุ๋ยปีนี้จะขึ้นราคาไปเท่าไหร่ โรคระบาดจะมีไหม และฝนฟ้าเทวดาจะเมตตาชาวนา ชาวดินเช่นไร

พอตกหล่มเข้าไปในวงเวียน เพื่อทำข้าวขายก็ถอนตัวไม่ขึ้นเพราะการผลิตสินค้าหรือบริการใดก็ตามที่ไม่สามารถควบคุมต้นทุนและปัจจัยแวดล้อมได้แบบนี้ ก็สามารถมองเห็นอนาคตได้อย่างแน่นอนว่า ต้องขาดทุนพอขาดทุนก็ต้องแก้ตัว ด้วยความหวังว่า ปีหน้า ราคาข้าวอาจจะดีขึ้น โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า การที่ข้าวจะขึ้นหรือไม่ขึ้นราคามันอยู่ที่กลุ่มพ่อค้าข้าวไม่กี่ตระกูลว่า เขาจะเมตตาแบ่งเศษกำไรให้หรือไม่ การที่จะแก้ตัวเพราะทำนาขาดทุนเพื่อให้ได้ทำนาในรอบใหม่ ก็ต้องเกิดการกู้หนี้ยืมสิน พลัดหล่มเข้าไปในอีกวงจรหนึ่งที่เรียกว่า หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งผมจะพูดถึงเรื่องนี้ภายหลัง



ธรรมชาติของผู้ค้าไม่ว่าจะค้าขายอะไร การขายถูกเป็นสิ่งที่พ่อค้าชอบ พ่อค้าชอบการขายของถูกเพราะการขายของถูกมันขายง่าย และขายสบายและขายได้จำนวนเยอะ ตราบใดที่เขายังกำหนดราคาซื้อที่ต่ำได้ เรื่องอะไรที่เขาจะไปกำหนดซื้อของมาขายในราคาสูง เพราะซื้อมาราคาสูงการไปขายมันก็ขายยาก ตราบใดที่ยังกดให้ชาวนาทำข้าวมาขายให้ในราคาถูกได้ เรื่องอะไรที่จะไปขึ้นราคา พ่อค้าจึงชอบนโยบายการประกันราคามาก เพราะสามารถที่จะสามารถกดซื้อข้าวในราคาต่ำ แล้วก็ให้ชาวนาไปรับส่วนต่างจากรัฐบาล พ่อค้าได้ข้าวไปขายในราคาถูก ชาวบ้านได้เงินจากค่าข้าวและเงินส่วนต่างจำนวนหนึ่งตามที่รัฐฯกำหนด ส่วนรัฐบาลจ่ายส่วนต่างอย่างเดียวและไม่ได้ข้าวสักเมล็ด และนับวันจะต้องจ่ายมากขึ้น เพราะชาวนามีทั้งจริงและเก๊มาเอาส่วนต่าง บางรายชาวนาแท้ๆนี่แหละครับ แต่ไม่ทำนาเพราะเมื่อรวมราคาข้าวที่ขายได้พร้อมเงินส่วนต่างแล้วเขายังขาดทุน อย่ากระนั้นเลยจะไปทำให้มันเหนื่อยไปทำไม รอรับเงินส่วนต่างเสียอย่างเดียวไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเป็นแบบนี้พอจะเห็นภาพไหมครับว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคตอาชีพชาวนา

ผลิตภาพของชาวนาจะลดลง การพัฒนาเพื่อการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มคุณภาพข้าวก็จะไม่มี เพราะราคาซื้อขายในตลาดก็ไม่เอื้อ ด้วยพ่อค้ากดราคาไว้ ไม่ต้องซื้อแพงก็ได้เพราะรัฐบาลจ่ายส่วนต่าง ชาวนาก็ไม่ขวนขวายที่จะผลิตข้าวให้ได้มากและคุณภาพดี เพราะทำไปก็เท่านั้น

มาดูต้นทุนการทำนาข้าวแบบทั่วๆไปที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ผมจะแจงให้ฟังโดยละเอียด ต้นทุนการทำนาทุกวันนี้ประกอบด้วย

1. ค่าพันธุ์ข้าว ใช้โดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ยต้นทุนประมาณ 300 บาท

2. ค่าไถนา ไร่ละ 900 บาท

3. ค่าปักดำ ไร่ละ 1,200 บาท

4. ค่าปุ๋ยใช้ 50 กิโลกรัม/ไร่ สองครั้ง 2,000 บาท

5. ค่าเก็บเกี่ยว ไร่ละ 600 บาท

นี่คือต้นทุนดิบในการทำนาหนึ่งไร่ สมมติว่าไม่มีโรคระบาดและแมลงรบกวนจะเป็นต้นทุนดิบอยู่ที่ไร่ละ 5,000 บาทถ้วน แต่ในความเป็นจริงยังมีค่ายาคุมหญ้า และยากำจัดหอยเชอรี่และอื่นๆ อีกประมาณไร่ละ 500 บาท หากชาวนาทำนาได้ไร่ละ 800 กิโลกรัม ต้องขายข้าวกิโลละเท่าไหร่ดีเขาจึงจะอยู่ได้ เอาหัวใจเราตรองดูครับ

ผมจะมาว่าต่อในเรื่องจำนำข้าวในวันพรุ่งนี้เพราะวันนี้มีประชุมกรรมการหมู่บ้าน เรื่องงบ เอสเอ็มแอล ที่ได้มาครับ ท่านใดมีคำเสนอแนะและอยากได้ข้อมูลมุมไหนจากชาวนา อย่าช้าครับร่วมมาเสวนากันครับ


มาดูคุณูปการอันยิ่งใหญ่อีกอย่างที่โครงการประกันราคาได้ให้กับชาวนาไว้อย่างใหญ่หลวง ดูเหมือนจะดีและเลอเลิศ เพราะชาวนาในกลุ่มที่หนึ่งและชาวนานอกเขตชลประทานที่ทำนาข้าวได้ข้าวน้อยแต่พอกิน ไม่มีข้าวไปเข้าโครงการรับจำนำ แต่ได้รับเงินส่วนต่างมาไร่ละพันกว่าบาท เลยเหมือนได้รับประโยชน์เพราะมีเงินมาถึงมืออย่างที่เคยไม่ได้รับ แต่ถ้ามองอย่างลึกๆเงินที่ได้รับนั้นเหมือนขนมหวานที่เอามาล่อ แต่ไม่บอกถึงยาพิษที่ซ่อนอยู่ภายใน ใครจะมองอย่างไรไม่รู้และไม่มีใครมาชี้ให้สังคมเห็น ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการผู้เลอเลิศ นักการเมืองผู้ประเสริฐ และ ทีดีอาร์ไอ สุดวิเศษ ไม่รู้ไปอยู่เสียที่ไหน

ยาพิษที่ร้ายแรงนั้นก็คือ การทำให้สินทรัพย์ในมือชาวนา ลดค่าลงเกือบเท่าตัว ทำไมถึงบอกเช่นนั้น ก็เพราะว่า ราคาข้าวที่พ่อค้าในตลาดกดราคาซื้อให้ลดเหลือเพียงแค่ หกพันถึงเจ็ดพันบาท ในสมัยประกันราคาข้าวนั่นไงครับ ทำให้สินทรัพย์ที่อยู่ในมือชาวนาจากที่เคยขายในสมัยนายกฯสมัคร 13,000-14,000 บาท ราคาหายไปเป็นครึ่ง นั่นก็คือข้าวที่เขาถือไว้ในมือมีมูลค่าลดลงไปครึ่งหนึ่ง งบดุลชีวิตของเขาติดลบทันทีในจำนวนที่ไม่น้อย แล้วแบบนี้เศษเงินส่วนต่างที่ให้มาเมื่อเทียบกับอัตราส่วนนี้ ยิ่งเป็นเศษเงินหนักยิ่งเข้าไปอีก เกิดวันหนึ่งเขามีความจำเป็นต้องใช้เงิน เอาข้าวไปขายสักสองเกวียน ราคาที่เขาควรจะได้แล้วหดหายไปเพราะการนี้ เท่ากับเงินชดเชยส่วนต่างที่ได้มาหายไปแล้วนับสิบไร่ ช่างเป็นน้ำผึ้งเคลือบยาพิษ ที่หอมหวานและเลือดเย็นเหลือเกินครับท่านนักวิชาการ และ ทีดีอาร์ไอ ผู้ประเสริฐ

แต่สิ่งที่ท่านให้ตอบแทนกับประเทศและสังคมก็คือ การเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ช่างเป็นถ้วยรางวัลที่สวยงาม วาววับและน่าภาคภูมิใจ ใส่ตู้โชว์ไว้ให้แขกไปไทยมาได้เห็นว่า ช่างมากด้วยสามารถที่คว้าถ้วยรางวัลมาได้ แต่ให้ตายเถอะ ถ้วยรางวัลที่สวยงามนี้ มีนักวิชาการหรือนักการเมืองท่านใดพอจะชี้ให้ชาวนาผู้โง่เขลาอย่างผมเห็นได้ไหมว่า เกิดประโยชน์โภชน์ผลใดกับชาวนาบ้าง เอาให้เห็นชัดๆว่าชาวนาได้ประโยชน์อะไรจากตำแหน่งที่หนึ่งของโลกนี้ และผู้คนในสังคมได้ประโยชน์อะไร ในเมื่อผู้ทำนายังต้องทำนาอย่างหนักเพื่อผลิตข้าวไปส่งออกให้ตัวชาวนาขาดทุน เพียงเพราะเพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์ แล้วสังคมส่วนรวมมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอยู่หรอกหรือครับ กับตำแหน่งแชมป์นี้ ท่านนอนหลับสบายขึ้น กินข้าวได้น้อยลงใช่ไหมครับหลังจากเป็นแชมป์ส่งออกข้าวแล้ว ก็เปล่าเลย แต่คนที่ทุกข์ทนเหมือนเดิมหรือมากขึ้น กลับเป็นชาวนา

คำถามที่ตามมาอีก และไม่ได้รับคำตอบจากนักวิชาการที่มากระหน่ำโครงการรับจำนำข้าว ก็คือ ประเทศที่ชาวนาเป็นสุขอย่างญี่ปุ่น ทำไมเขาไม่ดิ้นรนเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกอย่างของไทย หรือป่านนี้คนญี่ปุ่นตายหมดแล้วเพราะช้ำใจตายที่ไม่ได้ครองแชมป์ส่งออกข้าว ก็เปล่าเลย แต่ชาวนาเขากลับสมบูรณ์พูนสุขเสียด้วยซ้ำ แล้วเคยหาคำตอบมาให้ชาวนาเราไหมครับท่านนักวิชาการว่าเป็นเพราะอะไร

อีกสิ่งที่ผู้คนในสังคมไม่มีใครไปให้ความสนใจและสูบเลือดชาวนาอยู่อย่างเลือดเย็นเงียบๆ ก็คือการผูกขาดการค้าปุ๋ยอยู่ในมือของบุคคลเพียงไม่กี่คนเหมือนกันกับผู้ค้าข้าวและดูเหมือนจะสัมพันธ์กันด้วยซ้ำ ช่างโหดร้ายไหมครับที่คนกลุ่มเดียวกันนี้ช่วยกันสูบเลือดชาวนาทั้งต้นทางและปลายทางของข้าว จนสุดท้ายชาวนาจะเหลือเพียงซังข้าวและชีวิตที่ผอมแห้งเพราะเลือดโดนสูบไปไม่มีเหลือ มีใครพูดและชี้ให้สังคมเห็นไหม นักวิชาการที่บอกว่าราคาจำนำข้าวควรอยู่ที่เกวียนละ 8,000 บาทลองเอาหัวแม่ตีนตรองดูว่า จะให้ชาวนาอยู่อย่างไรถ้าไปดูต้นทุนที่ผมบอกไว้

มามองดูโครงการจำนำข้าวเท่าที่ผมรู้และติดตามแนวคิดที่อยู่ลึกๆในโครงการนี้ เป็นแนวคิดที่อยู่ลึกมากจริงๆครับ ผมออกจะขัดใจกับรัฐบาลว่าทำไมไม่ใครหน้าไหนในรัฐบาลที่มีความสามารถเลยหรือที่จะอธิบายความ ในสิ่งที่ต้องการของโครงการนี้ให้ชาวบ้านได้เข้าใจ ไปติดหล่มอยู่เพียงแค่ คำว่า"รับจำนำ"ที่เขาโหมใส่ทั้งที่แก่นแกนของโครงการนี้ไม่ใช่การรับจำนำ ชาวนาบ้านนอกอย่างผมต้องมาลำบากจิ้มแป้นอยู่อย่างนี้เพราะกลัวแก่นของโครงการนี้จะล้มไปเพราะความไม่ประสาของฝ่ายรัฐบาลที่ไม่สามารถอธิบายต่อสังคมได้ เพราะสังคมนี้โดนลวงมาด้วยสื่อ และนักวิชาการบนหอคอยงาช้างมากันค่อนชีวิต ซึ่งตอนนี้ก็พากันกระหน่ำจุดอ่อนโครงการที่มีการทุจริต ซึ่งสามารถจัดการได้ ที่เขาต้องการกำจัดที่แท้จริงคือแก่นแกนของโครงการนี้ต่างหาก แต่ไม่มีใครพูดชาวนาคนนี้จะพูดครับ อาจจะผิดหรือถูก ก็บอกไว้แต่ต้นแล้วว่าเป็นมุมมองของชาวนา


โครงการนี้เท่าที่ผมติดตามแนวคิดอย่างตามติดและสนใจพอจะสรุปออกมาได้ดังนี้

โครงการนี้ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง คือโครงการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการข้าว แต่มันคงจะยากที่จะเรียกเช่นนั้นในการเมืองที่ต้องเอาการตลาดมาจับให้มันเข้าถึงชาวบ้าน ก็เลยมาลงที่"การรับจำนำ"เป็นหัวเรื่องเพื่อให้จำง่ายและติดตา แต่แก่นของโครงการไม่เคยเปลี่ยนยังคงมั่นอยู่ที่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของการบริหารจัดการข้าว ให้ทุกส่วนได้รับความเป็นธรรมในสายธารของข้าวแห่งนี้ ปรับโครงสร้างอย่างไร จัดการข้าวอย่างไร กระจายความเป็นธรรมอย่างไรนี่เป็นสิ่งที่รัฐควรจะอธิบายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง และผมก็เฝ้าจับตาดูว่ามีใครจะออกมาอธิบายไหม ได้แต่รอแล้วรอเล่า และรอเปล่า เลยอึดอัดขัดใจขออธิบายเองดังต่อไปนี้

การปรับโครงสร้างครั้งนี้เกี่ยวกับต้นธารไปจนถึงปลายธารของข้าว เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตคือชาวนา การเอาโครงการรับจำนำข้าวเข้ามาก็เพื่อ ยกระดับรายได้ของชาวนาให้ขึ้นมาลืมตาอ้าปากได้ โดยคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงและให้ชาวนาอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่พอยืนอยู่ได้ในสังคม แล้วทำไมต้องอยู่ที่ 15,000 บาท ผมพอจะอนุมานและเห็นแนวคิดนี้อย่างเท่าทันผู้คิดนโยบายว่า ต้องการไปเปรียบกับผู้จบปริญญาตรี ที่จะให้ได้รับค่าจ้างพื้นฐานที่ หมื่นห้า ให้เป็นค่าความพากเพียรที่เล่าเรียนมาจนจบด้วยค่าตอบแทนที่ได้รับ ย่อมเท่าเทียมกันกับของชาวนาผู้พากเพียรทำข้าวให้ได้หนึ่งตัน เป็นค่าความเหนื่อยยากและทักษะการทำนาที่ชาญเชี่ยว และเป็นแรงจูงใจให้พัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิต และหาวิธีลดต้นทุนเพื่อนำไปสู่กำไรที่มากขึ้น ไม่มีคนของรับบาลคนใดเลยที่ออกมาชี้ตรงจุดนี้

คุณูประการนี้จะส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตข้าว ให้ชาวนากระตือรือร้นที่จะเพิ่มผลผลิต และพัฒนาวิธีการเพื่อลดต้นทุน ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มรู้จักการใช้ทรัพยากรร่วมในการลงทุนทำนา อย่างเช่น เอาเงิน เอสเอ็มแอล มาซื้อรถไถนา รถเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ร่วมกันในหมู่บ้านและตำบลเป็นการลดต้นทุนและต่อยอดไปหารายได้ได้อีก มีเอาท์ซอสซิ่งเหมือนอุตสาหกรรมเหมือนกันนะครับ เพราะด้วยที่หาแรงงานทำนายาก ก็มีชาวนาหัวใสเอาแรงงานที่มีทักษะการดำนาชั้นยอดมารวมตัวกัน 20-30 คนรับดำนาในราคาเหมาเป็นไร่ ไร่ละ 1,200 บาทนายี่สิบไร่นี่วันหนึ่งดำเสร็จสบายๆ และถูกกว่าค่าจ้างรายวัน คำนวณต้นทุนได้แน่นอนด้วย คนรับจ้างก็พอใจเพราะถ้ายี่สิบคนดำได้ยี่สิบไร่ต่อวันค่าจ้างต่อคนตกนับพันบาทต่อคน เห็นพัฒนาการของเขาไหมครับ หากราคาที่รัฐยกระดับรายได้เช่นนี้จะเห็นพัฒนาการที่มากกว่านี้ เพราะทำแล้วคุ้ม

อีกอย่างที่เห็นภาพชัดใกล้ตัว คือที่ที่ถูกทิ้งร้างไว้ไม่ทำประโยชน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้ถูกบุกเบิกแผ้วถางมาทำนาหากชาวนามองไม่เห็นผลตอบแทนที่อยู่เบื้องหน้าคงไม่มีใครมาลงทุนเช่นนี้ ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกทิ้งเอาไว้เปล่าๆไม่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้เกิดประโยชน์ขึ้นและคงจะเป็นแบบนี้ไปอย่างทั่วถึง สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำในส่วนนี้และทำไปแล้วบ้างก็คือการจัดการปัจจัยการผลิต พวกปุ๋ยและเคมีเกษตรที่อยู่ในมือนายทุนอย่างเบ็ดเสร็จ การให้ทุนซึ่งรัฐให้ในเรื่องบัตรเครดิตเกษตรกร แต่มีปัญหาอยู่ที่ต้องแก้ก็คือการเข้าถึงในโครงการนี้ของเกษตรกร โดยเฉพาะรายใหม่ที่ไม่เคยเป็นลูกค้า ธกส. และอีกอย่างที่ควรจะไปรื้อแก้ก็คือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรในระดับต่างๆว่ามีส่วนในการส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรชาวนาอย่างไร ไม่ใช่อยู่ในสภาพเลี้ยงเสียข้าวสุก

ผลที่ส่งไปหาชาวนาอีกอย่างอันเป็นตรงกันข้ามกับโครงการประกันราคา และเป็นผลที่ส่งในวงกว้างและตัวชาวนาเองก็ไม่รู้สึก ก็คือข้าวอันเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในมือชาวนา มันมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในงบดุลชีวิตของเขามันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถึงแม้เขาจะทำนาได้ข้าวน้อยไม่มีข้าวมาเข้าโครงการจำนำ แต่ข้าวที่เขาเก็บไว้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยมีจากสมัยประกันราคา เกิดวันหนึ่งเขามีความจำเป็นต้องขายข้าว อาจจะจากที่ต้องซื้อชุดนักเรียนใหม่ให้ลูก หรือขายไปหมั้นสาวเป็นสินสอดให้ลูกชาย ข้าวในมือเขามันก็มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยเป็นอยู่เพราะราคาถูกยกระดับขึ้นมา อันนี้เป็นสิ่งที่ชาวนาได้รับกันถ้วนหน้าโดยที่ไม่ต้องลุกจากที่นอน

ยังมีอีก ในเรื่องโครงสร้างการจัดเก็บ การขายข้าว และข้อเสนอของชาวนาอย่างผมไปให้รัฐบาลครับ แต่มาต่อกันตอนเย็นนะครับเพราะต้องไปเอาน้ำเข้านาแล้วครับ ข้าวกำลังตั้งท้องและออกรวง ท่านใดมีความคิดเห็นเช่นไรมาแลกเปลี่ยนกันครับยินดีอ่านและน้อมรับโดยพลัน


เสร็จงานแล้วครับ มาเล่าต่อถึงเรื่องข้าวและชาวนาครับ

หลายคนบอกสถานการณ์ตอนนี้ระหว่างชาวนากับชนชั้นสูงเป็นเหมือนสงครามชนชั้น ผมว่ากำลังเข้าใจผิด การที่จะทำสงครามกันได้นั้น คู่สงครามต้องมีกำลังไพร่พลสูสีกัน พอที่จะเข้าประจันและทำสงครามกัน แต่สภาพที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันไม่ใช่สงคราม แต่เป็นการเหยียบปาก และถุยน้ำลายซ้ำใส่ชาวนาผู้ที่ด้อยกว่าทุกอย่าง ด้อยที่ไม่มีภูมิรู้ที่จะอธิบายความด้อยด้วยภาพพจน์ความน่าเชื่อถือ เป็นเพียงชาวนาหน้าดำ ไม่มีสื่อที่เป็นตัวแทน ที่จะเป็นปากเสียงให้หรือมีใจแบ่งพื้นที่ให้สักนิด นักการเมืองที่เป็นตัวแทนก็เป็นแค่แถวสาม อธิบายความไม่ได้ แล้วมองอย่างไรที่ว่า เป็นสงครามชนชั้น ผมกลับมองว่า นายทุน ขุนศึก ศักดินา และพ่อค้าหน้าเลือด กำลังรังแกคนไม่มีทางสู้ โครงการนี้จะไปได้หรือไม่อยู่ที่ คนที่พอมีศักยภาพช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจให้สังคมเป็นพลังหนุนให้ชาวนาได้ลืมตาอ้าปาก

ด้วยสถานะความอ่อนแอด้านรายได้ของการทำนา ตลอดระยะเวลายี่สิบปีคืนหลังไปนั้นจึงเกิดสภาพของแรงงานย้ายถิ่นเพื่อไปหาอาชีพที่รายได้มากกว่าการทำนา ย้ำนะครับว่า เป็นอาชีพที่รายได้มากกว่าการทำนา ไม่ใช่ว่าเป็นอาชีพที่ดีกว่าหรือมีความสุขกว่า หากแต่เป็นอาชีพที่รายได้ดีกว่า อาจจะทุกข์ยาก และเหน็ดเหนื่อยกว่าการทำนา แต่เป็นอาชีพที่มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้มากกว่าการทำนา ก่อให้เกิดปัญหากับสังคมเมือง เกี่ยวเนื่องกันไป สังคมชนบทก็เปลี่ยวร้างเหลือเพียงคนแก่และเด็กที่ว้าเหว่ และโหยไออุ่นจากพ่อแม่ สังคมเมืองมีปัญหาเพราะความแออัด โจรผู้ร้ายจากคนร้อยพ่อพันแม่ บ้านนอกเริ่มมีปัญหายาเสพติดเพราะเด็กขาดไออุ่นและพ่อแม่คอยดูแล

สภาพนี้จะได้รับการแก้ไขแม้จะไม่ทันใดแต่ก็จะมีการแก้ หากการทำนานำรายได้ที่พอเลี้ยงครอบครัว ชาวนาจะคืนถิ่น เคยมีให้ได้เห็นบ้างในสมัยนายกฯสมัคร และกำลังเห็นอีกในสมัยนี้ คนงานในโรงงาน คนที่เป็นแม่บ้าน เป็น รปภ.เริ่มหายากใช่ไหมครับ กลุ่มคนเหล่านี้กำลังกลับมาทำนาในปีนี้ ข้างหลังบ้านผมเป็นที่รกร้างมานับสิบปีจำนวนเกือบสี่สิบไร่ ถูกแปรสภาพเป็นนาข้าว ทำมาแล้วสองรอบ จนได้ค่าแผ้วถางคืน นี่คือสิ่งที่ได้มาอีกอย่างของการปรับโครงสร้างครั้งนี้ พ่อได้กลับมาอยู่กับลูก แม่ได้มาทำกับข้าวให้ครอบครัว สังคมชนบทที่อบอุ่นคงจะกลับคืนมา หากโครงการยังดำเนินต่อไป

ซึ่งหากไปสู่จุดหมายได้ครบวงจรของการจัดการข้าว สังคมเมืองก็คงลดความแออัดลง ปัญหาของเมืองใหญ่ที่แย่งกันกินแย่งกันใช้ ก็คงจะน้อยลง สภาพที่รถติดทางขึ้นเหนือหรืออีสานในเทศกาลหยุดยาวก็คงเกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย การจัดการและปันส่วนของกำไรที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้การค้าข้าวอยู่ในมือคนเพียงบางกลุ่ม ผลดีที่จะส่งถึงคนเมืองอีกอย่างก็คือ การจะได้กินข้าวคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม ไม่ตกอยู่ในอำนาจของพ่อค้าข้าวที่จะโขกเอาราคาเท่าใดก็ได้อีกต่อไป

การรับจำนำข้าวทุกเม็ดย่อมสร้างอำนาจต่อรองให้ชาวนาที่จะเลือกว่า เขาจะส่งต่อข้าวให้กับใคร ระหว่างรัฐฯกับพ่อค้า หากพ่อค้าอยากแย่งสินค้าจากรัฐฯก็ย่อมมีสิทธิขาดที่จะให้ราคาที่ดีกว่า ย่อมดีกว่าที่จะไม่มีทางเลือก ที่ต้องขายข้าวในราคาที่พ่อค้ากำหนดอย่างโครงการประกัน นี่เอาภาพต่อการผลิตและผู้ผลิตพอสังเขปนะครับ

การที่มาบอกว่า การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการทำลายการค้าข้าวของภาคเอกชน ผมกลับมองว่า ไม่มีใครเขาทำลายได้หรอกครับ เพียงแต่ลดกำไรลงมาหน่อยมาแบ่งให้ลูกจ้างทำนาที่คุณกดขี่มาทั้งชีวิตจะได้ไหม หรือหากคุณจะล้ม คุณก็ยังมีทางไปเพราะสั่งสมความรวยมาแล้วทั้งชีวิต แต่หากชาวนาล้ม เขาไม่มีทางไป ท่านจะเลือกประคองใคร

อีกอย่างที่เหมือนเป็นปัญหาที่สุดของการรับจำนำที่รัฐฯควรจะต้องคิดอ่านหาวิธีแก้ไข นั่นคือการจัดเก็บข้าว และผมแน่ใจว่ามีการคิดอ่านไว้แล้ว เพราะเห็นนายกฯปูไปดูงานไซโลเก็บสินค้าเกษตรที่ไหนสักแห่ง

การจัดเก็บข้าวทุกวันนี้ เหมือนเอาปลาย่างไปฝากไว้กับแมว ผมย้ำอยู่ตลอดว่า ข้าวเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอยู่ในตัว การฝากข้าวไว้กับโรงสีจึงเป็นจุดหนึ่งที่ถ้าแก้ไขได้ก็ควรจะแก้ไข เพราะอาจเกิดปัญหาการเอาข้าวที่มาจำนำแล้วไปสีขาย แล้วไปซื้อข้าวคุณภาพต่ำจากเพื่อนบ้านมาใส่ไว้แทน ขายข้าวไทยที่คุณภาพดีออกไป ตรงจุดนี้คือที่น่ากลัวกว่าข้าวมาสวมสิทธิ์

ถ้าเป็นไปได้ในระยะต่อไป รัฐฯควรจะจัดให้มียุ้งฉางรวมของหมู่บ้านหรือตำบลเพื่อให้เป็นที่เก็บข้าวที่รับจำนำ มีกรรมการระดับหมู่บ้าน หรือตำบลเป็นผู้ดูแล รวมทั้งเป็นผู้รับจำนำและออกใบประทวน ให้ผู้จำนำไปรับเงินที่ ธกส.หรือ สหกรณ์ ตรงนี้จะมีข้อดีตรงที่การตรวจสอบการสวมสิทธิ์ของชาวนา จะไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะชาวบ้านเขารู้จักกันจนถึงโคตรเหง้าศักราช และการที่ข้าวอยู่ในมือชาวบ้านส่วนรวม การที่จะแอบเอาไปสีขายเหมือนโรงสี ก็เกิดขึ้นไม่ได้ หลายคนอาจจะแย้งว่า แบบนั้นก็ต้องลงทุนสร้างยุ้งฉางจำนวนมาก คำตอบก็คือ ในเมื่อจำเป็นก็ต้องสร้างครับ ใช้เงินไม่มากมายเท่าเศษเสี้ยวของการไปอุ้มธนาคารหรอกครับ

ข้อดีอีกประการของการมียุ้งฉางอยู่ในมือชาวบ้านแบบนี้ก็คือ หากเกิดปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งหรือทุุพภิกขภัย ก็ให้รัฐฯสามารถให้ชาวบ้านร่วมกับส่วนท้องถิ่นสามารถเปิดยุ้งฉางเอาข้าวที่เก็บไว้ออกมาแจกจ่ายแก้ไขทุกข์ชาวบ้านได้ โดยไม่ต้องรอการขนส่งมาแจกจ่ายที่เสียทั้งเงินและเวลา หากไม่มีก็เก็บไว้รอเวลาที่รัฐฯจะให้เอามาส่งไปสีขาย และสามารถเอายุ้งฉางนี้เก็บสำรองเมล็ดพันธุ์และต่อยอดไปถึงการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นอีกปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ไม่มีใครพูดไปถึงอีกเช่นกัน

จะเห็นว่านี่คืออีกห่วงโซ่ที่รัฐฯน่าจะทำอย่างแน่นอนในการจัดการข้าว ส่วนอีกหนึ่งในขบวนการคือการปรับกระบวนการค้าข้าวจะมาเล่าต่อในตอนเย็นครับ ขอสมาชิกชี้แนะและเพิ่มเติมครับ


มาเข้าเรื่อง การจัดการการตลาดข้าวของรัฐบาลนะครับ รัฐบาลนี้เป็นนักการตลาดครับ ความจริงข้อนี้ไม่อาจปฏิเสธ การกักตุนสินค้าเป็นไม้หนึ่งของการทำการค้า ผมมองว่า รัฐบาลกำลังเล่นไม้นี้อยู่ เพราะยังไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องรีบขายข้าวในตอนนี้

หากสามารถรอราคาได้ก็รอไปก่อน แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดการก็ต้องยอมเพื่อผลในวันข้างหน้า การที่รัฐฯเอาข้าวมาไว้ในมือทั้งหมดคือยุทธศาสตร์การเพิ่มอำนาจต่อรองให้ชาวนา ถ้ารัฐบาลไม่ทำ มองไปทั้งแผ่นดินนี้ใครมันจะทำได้ครับ

เมื่อทำผลกระทบมันก็ตามมา เพราะเป็นสัญญาณการรื้อโครงสร้างข้าวที่ส่งออกมาอย่างชัดเจน ตรงนี้ต่างหากที่นายทุนค้าข้าวกลัวลาน เพราะจะหมดโอกาสมากำหนดราคาข้าวอีกต่อไป พอหมดโอกาสกำหนดราคา ก็มองเห็นอนาคตกำไรที่ไม่สามารถกำหนดได้เหมือนเดิม

คนที่คิดเรื่องนี้อาจจะคิดลึกซึ้งไปกว่านั้น ว่าจะทำอย่างไรต่อยอดโครงการนี้ ข้าวซื้อมาทำไมต้องรีบขายครับ มันเก็บได้ เอามาเพิ่มมูลค่าได้ หากขายส่งออกไม่ได้ราคา ถ้าเป็นผมไม่ส่งออก แต่จะเอามาเพิ่มมูลค่า อุตสาหกรรมแอลกอฮอร์เพื่อดื่ม เพิ่มมูลค่าได้เท่าไหร่ รู้ไหมว่าไทยส่งข้าวให้ญี่ปุ่นทำสาเกปีละเท่าไหร่ ทำไมไม่ส่งสาเกน้ำแทนข้าว แอลกอฮอร์ทางการแพทย์ราคาเท่าไหร่ ส่งออกได้ไหม

ผมถึงบอกว่าข้าวเป็นทรัพย์สินที่มีค่าอยู่อีกฟากของงบดุลชาติ ใช่มีแต่หนี้สิน ช่วยกันบอกสังคมครับในจุดนี้ เพราะโดนตีเหลือเกิน ผมเชื่อแน่ว่า ผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายๆคนไม่ได้มองข้ามสิ่งเหล่านี้ และยืนยันว่าโครงการจำนำเป็นเพียงจุดเริ่มของการปรับโครงสร้างข้าวครั้งใหญ่ครับ

อีกอย่างที่รัฐบาลพูดชัดเจนก็คือ ข้าวไทยไม่จำเป็นต้องขายถูกอีกต่อไป นี่คือการวางตำแหน่งของสินค้าข้าวไทยอย่างชัดเจนในตลาด คือต้องเป็นสินค้าคุณภาพดี ราคาสูงในตลาดโลก นั่นคือการปฏิวัติตลาดข้าวของไทยครั้งใหญ่ในตลาดโลก เป็นยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายชัดเจน ไม่จำเป็นต้องขายมากก็ได้เงินมากเท่าเดิม

หากไม่สามารถส่งออกในปริมาณที่เท่าเดิม ข้าวจะเหลือในประเทศมากขึ้นรัฐฯสามารถเข้ามาจัดการกลไกในประเทศให้ผู้บริโภคในประเทศได้บริโภคข้าวในราคาที่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้เราจะได้เห็นและคาดหวังไว้ครับ ผมเชื่อแน่ว่า รัฐฯไม่หยุดแค่การรับจำนำครับ เพราะแผนทั้งด้านการบริหารจัดการน้ำที่จะต้องสอดรับกับการทำนาและการทำการเกษตรก็กำลังเดิน เครือข่ายการขนส่งทางรางที่จะเริ่มต้นสิ่งเหล่านี้จะสอดประสานกัน

คำถามและอุปสรรคที่เราทุกคนต้องก้าวข้ามให้ได้ก็คือ รัฐบาลนี้จะอยู่ถึงวันนั้นหรือเปล่า และใครจะเป็นคนให้คำตอบ

สำหรับท่านที่อยากเห็นภาพนาที่ผมทำนะครับ ผมทำนาข้าวไรส์เบอรี่ 1 ไร่, ข้าวหอมมะลิแดง 1 ไร่ ภาพนี้..ต้นกล้าข้าวไรส์เบอรี่ครับ

ต้นกล้าข้าวหอมมะลิแดงครับ

ปักดำใหม่ๆครับ ข้าวที่ปลูกใหม่ต้องปล่อยให้น้ำแห้งบ้างครับ เพราะถ้าขังน้ำไว้ในระยะนี้หอยเชอรี่จะมากัดกินต้นอ่อนครับ เราปล่อยให้น้ำแห้งแต่ความชื้นยังมีข้าวไม่ตายครับ และธรรมชาติของข้าวหอมต้องให้แห้งสลับน้ำครับ ไม่เช่นนั้นข้าวจะไม่หอมครับ

ที่งามแล้วครับ

ข้าวไรส์เบอรี่ ถ่ายเมือสองอาทิตย์ที่แล้วครับ


สิ่งที่อยากสื่อไปถึงรัฐบาลก็คือ... จำนำข้าว แม้ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชียร์ ทว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ รัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง ต้อง สร้างความเชื่อมั่น ทำความเข้าใจ กับประชาชนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ลำพังสัมภาษณ์สั้นๆ ตอบคำถามคำสองคำ ไม่เพียงพอ ตีฝ่าวงล้อม ฝ่ายตรงข้าม

รัฐบาลจำเป็นต้องจัดเวที ถ่ายทอดทีวี ชี้แจงจำนำข้าว ทุกเรื่อง ทุกมิติ ทุกข้อข้องใจ โดยกูรู ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติที่พูดเป็น สื่อสารเก่ง นั่นจึงจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมและเต็มใจที่จะช่วยชาวนาด้วยภาษีที่เสียไป ผมคิดว่า หากสังคมเข้าใจ พลังหนุนจะมากกว่านี้ และผู้ที่คอยจ้องที่จะให้ล้ม และเหยียบซ้ำ คงจะเกรงใจประชาชนบ้าง


ส่วนเรื่องการทำนาข้าวของผมว่าลงทุนเท่าไหร่เพราะเป็นข้าวราคาแพง เอาผมเป็นกรณีไปเปรียบเทียบกับชาวนาอื่นไม่ได้ครับ เพราะผมทำนาเพียงนิดเดียว และไม่ได้ใส่ปุ๋ย ต้นทุนของผมจึงถูก มีเฉพาะค่ารถมาไถนาให้ 2 ไร่เขาคิด 1,800 บาท เมล็ดพันธุ์ผมก็ไม่ได้ซื้อเพราะน้องชายเอามาให้ แต่ถ้าซื้อขายกันก็ตกกิโลละ 90 บาท ใช้ไป 10 กิโล เท่ากับ 900 บาท รวมเป็นเงิน 2,700 บาท

ส่วนการทำนา ผมหว่านกล้า ดำนาเองกับลูกสองคนและภรรยา ทำสองวันเสาร์อาทิตย์ก็เสร็จ แต่ถ้าจะคิดค่าแรงเข้าไป ผมคงขาดทุน เพราะค่าแรงผมแพงมากครับ ถ้าเทียบกับชาวนาทั่วไป ปีที่แล้วผมได้ข้าว 1,700 กิโลกรัม ตอนนี้ยังกินไม่หมดครับ

ชาวนาแบบผมจะ ประกัน หรือ จำนำ ราคาก็ไม่มีผลกระทบกับผมครับ แต่ที่ทำให้ออกมาเขียนเพราะทนกับความไม่ประสาของรัฐบาลที่ไม่สามารถที่จะชี้แจงให้สังคมเข้าใจได้ครับ

และย้ำให้ท่านผู้อ่านทราบอีกครั้งว่า ผมชาวนาตัวจริงมาแต่บรรพบุรุษครับ และจะให้ลูกๆสืบทอดทักษะและสำนึกของชาวนาไว้ในสายเลือดตลอดไปครับ

แถมภาพสวนที่ทำครับ

ประสบการณ์ส่วนตัวผมเคยทำโครงการโรงสีชุมชนกับชาวบ้านที่บ้านเกิด ฝ่าอุปสรรคแทบเอาชีวิตไม่รอดจึงฝ่าด่านนายทุนมาได้ ผมใฝ่ฝันอยากให้มียุ้งฉางกลางสำหรับเก็บข้าว และโรงสีของชุมชน ที่บริหารโดยชาวนา รวมกลุ่มกันปลูกข้าวคุณภาพและปลอดสารพิษ จำหน่ายข้าวราคายุติธรรมสำหรับผู้บริโภค ชาวนาอยู่ได้ด้วยตัวเอง ถามว่าทำได้ไหม ทำได้ครับและมีชาวนากลุ่มหนึ่งทำได้มาตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันโรงสีกลุ่มนั้นมีเงินหมุนเวียนนับร้อยล้านบาทต่อปี ชาวบ้านสมาชิกของกลุ่ม มีสวัสดิการอย่างเยี่ยมจากผลประกอบการของโรงสี เจ็บป่วยเขานอนห้องพิเศษ โดยมีกองทุนสวัสดิการของเขาเป็นคนจ่าย

แต่ทำไมโครงการดีๆแบบนี้ยังไม่ขยายไปไหน ยังถูกบอนไซไว้ไม่ให้ขยายเติบโต ผมนึกถึงการปลุกปั้นมาคราใดได้แต่สะท้อนอยู่ในอก

อีกปัญหาที่อยากบอกผ่านสาธารณะไปยังรัฐบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง คือการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ในที่นี้ไม่ใช่เฉพาะข้าว หากแต่รวมไปถึงเมล็ดพันธุ์ทุกชนิด ผลกระทบกับเกษตรกรคือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และที่กระทบอย่างใหญ่หลวงก็คือ เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองที่นับวันจะหมดหายทั้งข้าว และพืชผักต่างๆ เพราะพันธุ์พื้นเมืองมันไม่สวย หรือผลผลิตไม่มาก การทำออกไปขายก็ไม่มีคนซื้อเพราะไม่สวยเหมือนพันธุ์ที่เขาพัฒนาแล้ว

ชาวนาหรือชาวสวนก็ทิ้งสายพันธุ์ดั้งเดิม กระโดดเข้าไปในบ่วงทาสเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีวันสลัดหลุด เพราะพอนำมาปลูกแล้ว เก็บทำพันธุ์ในฤดูต่อไปไม่ได้ ก็ต้องกลับไปซื้อเขาใหม่ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ พ่อค้าข้าว ต่างช่วยกันรุมแทะเหยื่ออันโอชะ แล้วยังมีนักวิชาการ และนักการเมืองที่ไม่เคยมองประชาชนอยู่ในสายตากระทืบซ้ำ

ถ้าคนที่พอมีกำลังและปากเสียงในบ้านเมือง ไม่มาช่วยกันประคองคงเห็นชะตากรรมอันสยดสยอง ของชาวนาในไม่ช้า หรือในทางกลับกันหากชาวนาเหลืออดกับชะตากรรม ชนชั้นสูงที่ขี่หลังสังคมสูบเลือดจากชาวนา ก็อาจจะไม่มีแผ่นดินอยู่



ครม.เห็นชอบในหลักการเพิ่มรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 เป็น 14.70 ล้านตัน

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 และเห็นชอบในหลักการการขยายปริมาณและกรอบการใช้เงินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 กรณีพิเศษ

วันนี้(15ต.ค.55) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และเห็นชอบในหลักการการขยายปริมาณและกรอบการใช้เงินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 กรณีพิเศษ (เพิ่มเติม) จากเดิม ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้แล้ว จำนวน 13.31 ล้านตัน ปรับเพิ่มเติมอีกจำนวน 1.39 ล้านตัน รวมเป็นปริมาณโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (กรณีพิเศษ) จำนวนทั้งสิ้น 14.70 ล้านตัน โดยให้ใช้จากวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ในส่วนที่เป็นเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 90,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ ยังอยู่ภายในกรอบวงเงินทุนหมุนเวียนสำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการไว้ โดยกระทรวงพาณิชย์ จะเร่งระบายข้าวสารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 และนำเงินที่ได้ชำระคืน ธ.ก.ส. เพื่อให้ ธ.ก.ส. นำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังส่วนที่เพิ่มเติม

สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (ต้นทุนเงินและค่าบริหารโครงการ) ให้ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการระบายและขายผลผลิตให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ทราบอย่างต่อเนื่องตามความเห็นของสำนักงบประมาณด้วย



Comment...

By Thanawut: แนะนำคุณถือแถน ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรนี้ครับ

By ดวงจันทร์: พ่อค้าเขาไม่เอามาคิดหรอกค่ะตราบใดที่ชาวนาต้องเอามาขายให้เขา เพราะเขารู้ว่าจะอย่างไรชาวนาก็ต้องขายถึงไม่ได้กำไรแต่ได้ทุนชาวนาก็ต้องทำ คนใจดำก็ยังใจดำเช่นนี้เปลี่ยนไม่ได้ ก็หวังว่ารัฐบาลนี้จะเดินหน้าต่อไปเพื่อชาวนาไทยสักครั้ง

By วอน: เห็นภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา ที่คุณถือแถนโพสท์แล้ว ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ........ การรับจำนำข้าว รัฐบาลหลายรัฐบาลได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัย ท่านทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านสมัคร สุนทรเวช และ จนถึงสมัยรัฐบาลท่านปู นโยบายรับจำนำข้าวนี้ดำเนินการมา 10 กว่าปีมาแล้ว ......

ข้อสงสัยที่อยากให้คุณถือแถน ผู้คลุกคลีกับชาวนาที่แท้จริง อธิบายสักนิด ว่า "ในเมื่อรัฐบาล ได้ทุ่มเทความช่วยเหลือรับซื้อผลผลิตข้าว ในราคาแพงๆ (รับจำนำข้าวทุกเม็ด) มาเป็นเวลาถึง สิบกว่า ปีแล้ว ...............

*********** ทำไมชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวนารายย่อยๆเหล่านี้ จึงยังยากไร้ อยู่เช่นเดิม (ตามภาพที่คุณ ถือแถนนำมาโพสท์) ? ? ? ?

ในเมื่อ 1 ปี ที่ผ่านไปแล้ว ปรากฏชัดแก่ประชานทุกคนชัดเจนว่า รัฐบาลขายข้าวที่รับจำนำไว้ ขาดทุนไป ไม่ต่ำกว่า หนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาทแล้ว ประเทศไทยซึ่ง งบประมาณประจำปี ขาดดุลเป็นประจำ และ ปีนี้ การเก็บภาษี ยังเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายอีกด้วย ดังนั้น จึงสงสัยว่ารัฐบาลจะทนต่อ การขาดทุนปีละไม่น้อยนี้ ไปได้นานสักกี่ปี

ที่ผมเองกลัวคือ การเสียตลาดข้าวโลก ให้แก่เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน ไม่ใช่เพียงการเสีย champ อันดับ#1หรอกครับ แต่ที่เราจะต้องเสียโดยไม่รู้สึกตัวคือ "ความเคยชินในรสชาดข้าวไทย" จากที่เคยติดลิ้น ติดใจประชากรโลก จะเรียกคืนกลับมา หรือสร้างขึ้นใหม่ได้ยาก

ตอบ พี่ดวงจันทร์: อย่างที่ความเห็นของพี่ที่แสดงไว้ข้างบน จะเห็นว่าชาวนาถูกมัดมือชกอย่างไม่มีหนทางสู้อย่างน่าสงสารทีเดียว แถมต้นทุนที่ผมยกเอามาให้ดูเป็นเพียงต้นทุนดิบในการทำนาเท่านั้นนะครับ เพราะยังไม่รวมค่าใช้จ่ายของตัวชาวนาเอง ในทางธุรกิจเขาเรียกว่าค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ในการทำนามันเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ชีวิตของชาวนาที่ต้องกินต้องใช้ ลูกต้องเรียนหนังสือ มีภาษีสังคม ญาติตาย คนในหมู่บ้านแต่งงานและอีกสารพัดเหมือนอาชีพอื่นๆที่มีความเป็นคนเหมือนกัน

คำถามที่ชาวนาแบบผมพร่ำถามตัวเองก็คือ ทำไมชาวนาจะอยู่ดีกินดีเหมือนคนอื่นเขาไม่ได้ หรือเป็นเพราะเป็นชาวนาแล้วต้องเป็นชนชั้นที่ต้องแบกแอกงานหนัก เพื่อหล่อเลี้ยงผู้อื่นเท่านั้น หากท่านไปตีโพยตีพายเยี่ยงนั้น ก็จะถูกชี้หน้าว่า ถ้ามันลำบากไม่พอกินก็ไปทำอาชีพอื่น หรืออย่ามาทวงบุญคุณฉันไม่เคยขอข้าวใครกินเปล่าๆต้องซื้อทุกเม็ด ชาวนาก็ต้องก้มหน้ารับคำบริภาษเหล่านี้กระนั้นหรือ? มีใครมองบ้างไหมว่า สิ่งที่ชาวนาเรียกร้องแก่นมันอยู่ที่ตรงไหน ชาวนาไม่ต้องการให้ใครมาสงสารและสมเพช หากแต่อยากให้จัดสรรและกระจายรายได้และกำไรจากการค้าข้าวที่มาจากหยาดเหงื่อของเขาอย่างเป็นธรรมเท่านั้นเอง แต่เสียงของเขาไม่อาจสะท้อนออกมาได้เพราะ อำนาจต่อรองของเขาไม่มีเพียงสักกระผีก

ตอบ คุณวอน: ทำไมชาวนายังยากจนอยู่ ถ้าโครงการรับจำนำได้ผล และทำมานานแล้ว คำตอบคือ การทำโครงการเพิ่งได้ทำแค่เพียงการเริ่มต้นครับ คือเพียงแค่รับจำนำ แต่ยังไม่ได้ทำการปรับโครงสร้างของการจัดการข้าว เพียงแค่ยกระดับราคาขึ้นมาได้นิดหน่อย แต่ประเทศก็หยุดชะงักไปกับการรัฐประหาร คนที่คิดเรื่องโครงสร้างนี้ก็ไม่ได้ทำต่อ ประเทศนี้ติดหล่มมา 6 ปีแล้วครับ กำลังจะเดินเข้าแนวคิดที่เคยวางไว้เรื่องการจัดการข้าว ตัวประกอบเก่าก็เริ่มออกโรง หากยอมในครั้งนี้อีก ก็คงติดหล่มอีก ชาวนาก็แบกแอกไว้บนคอต่อไปครับ

ที่ว่ารัฐฯขาดทุน ประเด็นนี้ยังไม่ชัดเจนหรอกครับว่า รัฐฯขาดทุนไปหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาทแล้วจากการรับจำนำข้าว เพราะการประกอบการของรัฐฯยังไม่สิ้นสุด ข้าวก็ยังไม่ขายที่ขายไปก็ส่วนน้อยไม่รู้ว่าจะขาดทุนอย่างไรในเมื่อยังไม่เก็บแผงเลย ตัวเลขที่ว่าไม่ใช่เงินที่ใช้ไปรับจำนำหรอกหรือ หรือคิดว่ารับจำนำไปแล้วก็คือขาดทุนสูญหายไปหมด ก็ข้าวนั่นไงครับที่เป็นสินค้าที่มีราคาอยู่ในมือ พอขายก็นำมาคืนเงินรัฐฯที่ลงไปก่อน มันไม่เหมือนประกันราคานะครับที่จ่ายไปเท่าไหร่ก็ขาดทุนไปเท่านั้น (การประกันราคารัฐฯจ่ายเงินให้ไปฟรีๆ และไม่มีทางได้คืน ข้าวก็ไม่ได้สักเมล็ด)

มีแต่คาดเดา คิดว่า น่าจะ หรือฝันว่า จะขาดทุน เอ้า..ถึงจะขาดทุนจริงเมื่อสิ้นสุดในปีนี้ ก็คงไม่ถึงขนาดนั้น ถ้าเป็นผมเป็นรัฐบาล แม้จะขาดทุนในช่วงแรกๆก็จะยอมครับเพื่อรีเอ็นจิเนียริ่งใหม่ มันต้องพร้อมที่จะเจ็บตัวบ้างครับ

แต่นี่เดินทางยังไม่สุดเส้นทางเลย แต่มีแต่มีคนมาชี้และคาดเดาไปต่างๆนานา เพื่อให้เขาหยุดเดิน ไม่ผิดครับที่ทักท้วง แต่ก็ต้องคำนึงถึงกติกาและให้เกียรติประชาชนผู้เลือกมาครับ เพราะการไปร้องศาลโดยระบุในคำร้องชัดเจนว่า ให้หยุดการรับจำนำเพราะขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อันนี้เขาไม่เรียกว่าท้วงติงครับ หากแต่เป็นการเตะตัดขาเพื่อให้ล้มไปต่อไม่ได้อย่างชัดเจนครับ ถ้าเกิดวันนี้(10ต.ค.)ศาลตัดสินว่า ทำต่อไม่ได้อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปครับ

ตัวเลขขาดทุนที่ยกมา หนึ่งแสนห้าหมื่นล้าน นั่นเท่ากับขายข้าวขาดทุนตันละ 15,000 บาทถึงสิบล้านตันเลยนะครับ แสดงว่ารัฐฯไปขายข้าวตันละเท่าไหร่ครับจึงมีความสามารถทำให้ขาดทุนได้ถึงตันละ 15,000 บาท เพราะความสามารถและตัวเลขการส่งออกข้าวของไทยก็อยู่ประมาณนี้ หรือไทยส่งข้าวให้เขาแล้วแถมเงินให้ไปด้วยถึงจะขาดทุนตันละ หมื่นห้า (ต้องขายข้าวขาว ตันละ 1,500 บาท ขายข้าวหอมมะลิตันละ 18,660 บาทครับ ถึงจะสามารถขาดทุน 1 แสน 5 หมื่นล้านได้)

ราคาข้าวในตลาดโลกตอนนี้ ข้าวขาว 100% อยู่ที่ 588 เหรียญ คิดตัวเลขกลมๆคือ 18,100 บาท ข้าวหอมมะลิ ราคา 1,143 เหรียญ หรือ 35,260 บาท

ส่วนเรื่องการเสียโอกาส ในความเคยชินรสข้าวไทยนั้น ไม่ต้องห่วงหรอกครับ เพราะไม่ใช่ว่าข้าวไทยหายไปจากตลาดเสียทุกเม็ดซะเมื่อไหร่ ยังมีข้าวส่งออกไปอยู่และรัฐบาลก็ยืนยันว่าจะส่งออกข้าวต่อไป เพียงแต่จะไม่ขายราคาถูก วางตำแหน่งทางการตลาดไว้เป็นข้าวราคาสูงอย่างชัดเจน ผมยังได้ข้อมูลเรื่อง การเป็นผู้สำรองข้าวของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง นั่นคือ การทำตลาดที่ยั่งยืนต่อไปครับ

อีกอย่าง ข้าวเป็นสินค้าที่ไม่เหมือนอย่างอื่นครับ คนกินเคยกินแบบไหนมักจะกินแบบนั้นครับ แม้แต่ชาวนาเองแท้ๆ ยังปลูกข้าวแบบหนึ่งขายเพราะให้ผลผลิตมาก แต่ไปซื้อข้าวหอมจากที่อื่นมากิน หรือปลูกข้าวจ้าวขาย แต่ซื้อข้าวเหนียวกิน เยอะแยะครับ

และไม่ใช่ว่า เราส่งออกข้าวได้อันดับหนึ่งหรือมากๆ คนจะมากินข้าวไทยกันหมด คนเคยกินข้าวอินเดีย เขาก็กินข้าวอินเดีย แต่จะให้คนกินข้าวไทยไปกินข้าวเวียดนามตามที่ผมเคยกินมาแล้ว ความรู้สึกส่วนตัวก็กินไม่ลงครับ อย่างที่บรูไนข้าวไทยนี่แหละครับที่เขายกนิ้วให้ ข้าวอย่างอื่นเขาก็ไม่กิน แต่รัฐฯก็ไม่น่ามองข้าม ไม่ประมาทไว้ก็ดีครับ

By RedVW: ตั้งแต่ผมเด็กๆ เมื่อสาม-สี่สิบปีก่อน ผมฟังรายการวิทยุรายการหนึ่ง "คุยขโมงหกโมงเช้า" เขาจะพูดเรื่องปัญหาราคาข้าวและการแก้ไขอยู่เสมอ สิ่งหนึ่งที่ผมแปลกใจก็คือ ผ่านไป 40 ปีแล้วทำไมรัฐบาลยังไม่มีไซโลเก็บข้าวกระจายไปในทุกท้องที่ที่มีการทำนา สงสัยตายไปก็คงยังไม่เกิด คงไม่ได้เห็น

ลองดูตัวอย่าง การเสนอโครงการและการพิจารณาโครงการเมื่อประมาณ สิบกว่าปีก่อน

อ้างอิง: โครงการสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือกระดับประเทศ

ความเป็นมาและสาระสำคัญ

1) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเสนอโครงการสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือกระดับประเทศ ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานฯ ได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

2) คณะกรรมการนโยบายข้าวได้มีการประชุม 3 ครั้ง คือ วันที่ 25 เมษายน 2543 วันที่ 22 พฤษภาคม 2543 และวันที่ 20 มิถุนายน 2543 มีมติโดยสรุปเห็นชอบในหลักการมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบดำเนินการโครงการสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือก โดยให้จัดทำรายละเอียดลักษณะของไซโล ปริมาณความจุของไซโล สถานที่ที่จะสร้างไซโล และระบบการเงินในการดำเนินโครงการฯ

3) โครงการสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือกระดับประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาและชะลอการจำหน่ายข้าวเปลือก โดยเฉพาะในช่วงต้นปีที่มีผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพข้าวนาปรังที่มีความชื้นสูง มีคุณภาพต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดจนเป็นการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาข้าว

4) โครงการฯ มีเป้าหมายการสร้างไซโล 67 แห่ง ทั้ง 4 ภาคของประเทศ ในพื้นที่ 25 จังหวัด แบ่งเป็นเขตภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 10 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด โดยมีวิธีการดำเนินงาน คือ การคัดเลือกพื้นที่สร้างไซโลในแหล่งปลูกข้าว และมีผลผลิตเกิน 100,000 ตัน การสร้างไซโลขนาด 30,000 ตัน 67 แห่ง รวมความจุ 2 ล้านตัน และการรับดำเนินการปรับปรุงคุณภาพข้าว รับฝาก รับจำนำ ทำธุรกิจการค้าข้าวเปลือก

5) สำหรับการบริหารโครงการ มอบหมายให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ด้านการบริหารงานไซโลให้อยู่ภายใต้การกำหนดนโยบายและกำกับการดูแลของคณะกรรมการนโยบายข้าว ธุรกิจไซโล ประกอบด้วย รับจำนำ ซื้อขายข้าว และให้เช่า เก็บข้าวเปลือกจากเกษตรกร และจัดจ้างพนักงานประจำไซโล 67 แห่ง แห่งละ 6 คน โดยมีค่าใช้จ่ายประจำสำหรับบุคลากรประมาณปีละ 49 ล้านบาท ซึ่งใช้ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 1 ปี มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 10,800 ล้านบาท เฉลี่ยแห่งละประมาณ 162 ล้านบาท โดยเสนอทางเลือกให้ 2 กรณี คือ กรณีใช้เงินกู้ให้รัฐบาลรับภาระส่วนต่างดอกเบี้ยที่เกินกว่าร้อยละ 3 ต่อปี และกรณีเอกชนเป็นผู้ลงทุนและโอนให้รัฐ (Build and Transfer) แล้วรัฐบาลชำระคืนภายหลัง

ความเห็นคณะกรรมการฯ (7 สิงหาคม 2543)

คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงานฯแล้ว มีความเห็นดังนี้

1. โครงการสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เสนอมานี้ เป็นโครงการที่ต้องลงทุนสูง ต้องการระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องแข่งขันกับภาคเอกชนด้วย ซึ่งหากรัฐฯจะดำเนินการเองก็มีความเสี่ยงสูงต่อความสำเร็จและเป็นภาระทางการเงินของรัฐฯมาก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงประเด็น ดังต่อไปนี้

1) การนำข้าวเปลือกเข้าเก็บในไซโลโดยเฉพาะข้าวนาปรังเพื่ออบแห้งจะทำให้ข้าวเปลือกมีต้นทุนสูง และหากต้องทำการอบหลายครั้งต้นทุนก็สูงขึ้นอีก หากราคาข้าวเปลือกปลายฤดูไม่สูงมากพอเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการอบและเก็บรักษาจะทำให้ไม่คุ้มทุนโดยเฉพาะข้าวคุณภาพต่ำ

2) การประกอบกิจการไซโลเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดทุน ซึ่งหากรัฐฯจะดำเนินการให้ครบวงจร ก็มีประเด็นว่ารัฐฯจะดำเนินกิจการค้าข้าวแข่งขันกับภาคเอกชนที่ดำเนินการอยู่แล้วหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

3) การบริหารจัดการไซโลข้าวเปลือกขนาดใหญ่ที่ทันสมัยและครบวงจรจำเป็นจะต้องอาศัยบุคลากร ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถสูงเพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐยังมีข้อจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจภาคเอกชน

4) โครงการที่เสนอมานี้ยังมีสัดส่วนเงินลงทุนไม่ชัดเจนระหว่างเงินกู้ เงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินที่ภาคเอกชนจะลงทุนให้ก่อน นอกจากนั้นยังจะต้องมีการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศสูงมาก

2. ไซโลเก็บข้าวเปลือกเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพข้าว หากรัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็น แนวทางที่ควรดำเนินการ คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรและสหกรณ์ ภาคธุรกิจเอกชนและชุมชน เป็นผู้ดำเนินการและลงทุนในขนาดที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับปริมาณข้าวเปลือกในแต่ละพื้นที่ โดยรัฐฯพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ

3. การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ในเรื่องเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก รัฐบาลควรพิจารณาให้มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ในด้านปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกับการตลาดและการใช้ทรัพยากรน้ำ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับราคาข้าวด้วย

มติคณะกรรมการฯ

มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำความเห็นคณะกรรมการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

มติตั้งแต่ 2543 ผ่านมาถึงปัจจุบันยังไม่มีไซโลของรัฐฯสักหลังเลยกระมัง

By วอน: นิยมชมชอบการนำเสนอความคิดเห็นในการช่วยเหลือชาวนาของคุณถือแถน แม้คุณถือแถนจะลืมไปว่าเกษตรกรของไทยเรามิได้มีแต่เพียงชาวนา หากแต่มีเกษตรกรภาคพืชอื่นๆหลากหลาย ที่รัฐฯจำต้องระลึกถึง และช่วยเหลือพร้อมกันไปด้วย

การอ้าง รัฐประหาร ปฏิวัติ เพื่อแก้ตัวในความไม่รอบคอบของนโยบาย ไม่พอหรอกครับ ผมยังยืนยันว่า นโยบายรับจำนำ ต้องทำ

แต่ ต้องมีข้อจำกัดและภายใต้เงื่อนไข ไม่ใช่ดำเนินการไปโดยไม่กำหนดเวลาจบสิ้นเช่นนี้ ด้วยความไม่แน่ใจว่า รัฐบาลไทยเราจะทนการขาดทุนปีละกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาทเช่นนี้ไปได้นานสักกี่ปี (วันนี้ เงินกู้ ถึง 43% ของ GDP เกือบเต็มเพดานแล้ว ดุลการค้าขาดดุล แล้ว ยังจะต้องกู้เพื่อน้องน้ำ และกู้มาปิดงบประมาณ ที่เก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายอีกด้วย.....วาว)

เมื่อวิธีการรับจำนำได้เคยดำเนินการโดยรัฐบาลเครือพรรคเพื่อไทยมานานแล้ว นโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใหม่เอี่ยมนี้ ทีมเศรษฐกิจ ก่อนวางนโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ด น่าจะได้นำข้อดีข้อเสียของวิธีการรับจำนำมาคิด และวางแผนให้ถี่ถ้วนและรอบคอบกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ (แม้จะมีปฏิวัติ มาคั่นเวลา แต่ความรู้ไม่หายตามไปกับการปฏิวัตินี่ขอรับ คนล่ะเรื่อง ไม่เกี่ยวกันเลย)

ต้องขอบคุณ คุณ RedVW อีกครั้ง ที่ให้ความรู้เรื่อง ไซโลตำบล มาอย่างละเอียด ทั้งๆที่ใจนึกห่วงเรื่องการบริหารจัดการไซโลตำบล-หมู่บ้าน ตามที่คุณถือแถนเสนอมา

ตอบ คุณวอน: เรื่องที่มองว่าการจำนำข้าวจะทำให้ประเทศขาดทุนนับแสนล้าน เป็นการมองงบดุลของประเทศเพียงด้านเดียว อาจจะไม่รู้ หรือแกล้งไม่รู้ เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง อย่างที่นักการเมืองฝ่ายค้านและนักวิชาการบางกลุ่มทำอยู่ ทำไมผมจึงพูดเช่นนั้น พูดว่ามองงบดุลด้านเดียวของประเทศ งบดุลมีทั้งหนี้สินและทรัพย์สิน ตอนนี้พูดแต่ เงินที่ไปรับจำนำ ซึ่งเป็นหนี้สิน ในขณะเดียวกันรัฐก็มีทรัพย์สิน มาเติมอีกฝั่งของบัญชี อธิบายแบบนี้คงเห็นภาพชัดนะครับ งบดุลของประเทศไม่ได้ทำให้ตัวเลขทางบัญชีเปลี่ยนไปหรอกครับ แต่ผลประกอบการของรัฐบาลจะขาดทุนหรือกำไรก็ขึ้นกับการบริหารจัดการการตลาดข้าว ที่ผมกำลังจะพูดต่อไป

แต่การประกันราคาข้าว มีแต่ตัวเลขฝั่งหนี้สินที่เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีทรัพย์สินในอีกฝั่งของบัญชี ไปแปรเป็นรายได้ คุณวอนพอจะมองเห็นภาพมั้ยครับ ว่าต่างกันอย่างไร

ผมไม่เถียงคุณวอนว่า เกษตรกรกลุ่มอื่นก็มีความจำเป็นที่รัฐฯจะต้องช่วยเหลือ แต่คุณวอนทราบเรื่องลำดับความสำคัญมั้ยครับ รัฐบาลคงต้องทำแน่ แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญเพราะไม่อาจทำไปพร้อมกันได้ แต่ก็ไม่ได้ละเลยนี่ครับ ต้องให้เวลาเขาในการทำงานเพราะเพิ่งมาเป็นรัฐบาลปีกว่าๆ และปัญหาก็ไม่ใช่ว่าเพิ่งมีมาสมัยนี้ สมัยที่แล้วก็มีและยังไม่ได้รับการจัดการ จนทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายเลือกรัฐบาลปัจจุบันเข้ามาแก้ปัญหา เราต้องศรัทธาประชาชนครับ

By ดาวราย: ตามอ่านอยู่ค่ะ เรื่องนี้น่ากระจายให้กว้าง รัฐบาลน่าจะมีฝ่ายติดตามข้อมูลที่มีประโยชน์จากเว็บบอร์ดต่างๆ แล้วจัดการเผยแพร่ทั้งแก่ชาวนาและสังคมทั่วไป โดยเฉพาะนักวิชาการในหอคอย

เกรงว่าเขาจะเชิญคุณแถนไปเป็นที่ปรึกษา รมต.เกษตร และ รมต.พาณิชย์ น่ะสิ เดี๋ยวไม่มีเวลาปลูกเมล่อน อิ อิ(อ่านจาก ปชท.) ล้อเล่นค่ะ ถ้าเป็นไปได้ก็วิเศษ

ภาพที่หาดูไม่ได้ ในรัฐบาลชุดก่อนๆ...ใครหนอยืนตรงกลาง ช่างงามสง่า... อ้อ..คนที่เราเลือกเข้าไปดูแลประเทศไปอีกหลายๆปี อิอิ..

โครงการรับจำนำข้าว จุดตายของเผด็จการไทย?
By: รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ที่มา: "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555

@ สำหรับท่านที่ชอบอ่านสั้นๆ...

* * * * * การจำนำข้าวทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น ถึงแม้ผู้ที่ไม่ได้ร่วมโครงการก็ได้อานิสงค์นี้เพราะว่าพ่อค้าต้องซื้อข้าวจากชาวนาในราคาใกล้เคียงกับราคาจำนำ

ราคาข้าวเปลือกปีนี้ชาวนาจึงได้ราคาดีกว่าประกันถึงตันละ 3,000- 6,000 บาท/ตัน

การจำนำข้าวยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ เพราะยังไม่สิ้นสุดโครงการ แต่พวกเล่นหาว่าเสียหาย 2 แสนล้าน นั่นคือรัฐฯเก็บข้าวไว้ไม่ขายและเน่าเสียทั้งหมดทุกเม็ด (จะบ้าตาย)

แต่การประกันของประชาธิปัตย์ รัฐฯเสียหายไป 90,000 ล้านบาท (เก้าหมื่นล้านบาท)

มีชาวนาได้ประโยชน์จากโครงการจำนำ 2 ล้านครัวเรือน (หลายล้านคะแนนเสียง)

สุดท้ายพวกขบวนการเผด็จการที่คิดจะล้มโครงการและหวังไปถึงล้มรัฐบาลอาจต้องถึงจุดจบเพราะเรื่องนี้ครับ * * * * *

@ สำหรับท่านที่ชอบอ่านยาวๆ...

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การปลุกกระแสคัดค้านโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ดำเนินไปอย่างเต็มที่ เริ่มต้นจากพรรคประชาธิปัตย์ พ่อค้าและผู้ส่งออกข้าว องค์กรพัฒนาเอกชน ช่วยโหมกระพือด้วยสื่อมวลชนกระแสหลัก รุมกระหน่ำโครงการรับจำข้าวของรัฐบาลด้วยข้อบกพร่องและข้อมูลทุจริตที่ขยายเกินจริง ไปจนถึงข้อมูลเท็จและข่าวลือต่างๆ

ท้ายสุดคือ การเคลื่อนไหวของนักวิชาการและนักศึกษากว่า 140 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกันลงชื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 84(1) นี่อาจเป็น "การข้ามเส้น" เพราะการคัดค้านก่อนหน้านี้เป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์ แต่การที่นักวิชาการกลุ่มนี้จงใจ "เปิดประตู" เชิญให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา เป็นการแสดงเจตนาชัดเจนว่า ต้องการล้มโครงการรับจำนำข้าว เพื่อให้มีผลกระทบต่อเนื่องเป็นการล้มรัฐบาลในขั้นต่อไป

โครงการรับจำนำข้าวมีเป้าหมายที่เพิ่มรายได้ให้กับชาวนาไทยผ่านการแทรกแซงกลไกตลาดด้วยการพยุงราคาขั้นต่ำ ถึงแม้รัฐบาลจะใช้วิธีการ "รับจำนำ" คือให้ชาวนาสามารถกลับมาไถ่ถอนคืนได้ในเงื่อนไขที่กำหนด แต่รัฐบาลตั้งราคารับจำนำไว้สูง ผลก็คือ ชาวนาไม่มาไถ่ถอนคืน ข้าวในโครงการจึงตกอยู่ในมือรัฐบาล เท่ากับว่า รัฐบาลเป็นผู้รับซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนาโดยไม่จำกัดจำนวนในราคาที่ประกาศไว้นั่นเอง นี่คือมาตรการพยุงราคาสินค้าเกษตร ที่มีอยู่ในตำราหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานทุกเล่มและก็ปฏิบัติกันมานานแล้วในกลุ่มสินค้าเกษตรทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก

โครงการนี้มีผลให้ราคาตลาดปรับตัวสูงขึ้นเพราะรัฐบาลกลายเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ ข้าวจำนวนมากไปอยู่ในมือรัฐบาล บีบให้พ่อค้าต้องเสนอราคารับซื้อสูงตามไปด้วย ผลก็คือ ชาวนาทั่วไปแม้จะไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็จะขายข้าวในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน ข้าวเปลือกในตลาดเอกชนมีราคาสูงถึงตันละ 11,500-12,500 บาท เทียบกับสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งราคาอยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท และเหลือเพียงตันละ 6,000-7,000 บาทในช่วงเก็บเกี่ยว

ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์เองแสดงว่า การรับจำนำข้าวปีการเพาะปลูก 2554/55 มีชาวนาได้รับประโยชน์โดยตรงประมาณสองล้านครัวเรือน เป็นเงิน 142,200 ล้านบาท และชาวนาที่ไม่ได้เข้าโครงการก็ได้ประโยชน์ด้วยประมาณ 57,000 ล้านบาท

นักวิชาการที่ออกมาคัดค้านโครงการนี้อ้างเหตุผลว่า "นี่เป็นการรับจำนำ" ก็ต้องทำเหมือนโรงจำนำในเมืองคือ ต้องตั้งราคาจำนำที่ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อบังคับให้ชาวนากลับมาไถ่ถอนคืน นักวิชาการพวกนี้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจว่า การจำนำสิ่งของมีค่าในเมืองมีจุดมุ่งหมาย "แก้ปัญหาขาดสภาพคล่องชั่วคราว" ในยามเงินขาดมือ เช่น โรงเรียนเปิดภาคการศึกษา คนงานตกงาน เป็นต้น เมื่อผู้จำนำมีสภาพคล่องดีขึ้น (เช่น ได้รับเงินเดือน หรือได้งานทำ) ก็นำเงินมาไถ่ถอนสิ่งของกลับไป ส่วนโครงการรับจำนำข้าวนั้น ไม่ใช่การ "แก้ปัญหาขาดสภาพคล่องชั่วคราวของชาวนา" หากแต่เป็นการเพิ่มรายได้ในปีการเพาะปลูกนั้นๆโดยตรง ถึงแม้จะเป็นรูปแบบจำนำ แต่ในทางปฏิบัติคือ การพยุงราคาให้สูง

หากรัฐบาลตั้งราคารับจำนำให้ต่ำกว่าราคาตลาดตามที่นักวิชาการพวกนี้เรียกร้อง ก็จะเป็นการทำร้ายชาวนาและเอื้อประโยชน์แก่พ่อค้าและผู้ส่งออกโดยตรง เพราะราคาตลาดจะตกต่ำลงมาใกล้เคียงกับราคาจำนำ เนื่องจากพ่อค้ารู้ว่า ชาวนาไม่มีทางเลือกอื่นและต้องขายให้พ่อค้าเท่านั้น

ส่วนข้อกล่าวหาว่า โครงการมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยุติโครงการ เพราะถ้ายึดหลักการว่า โครงการใดมีทุจริต ก็ต้องยกเลิกให้หมด ก็เท่ากับว่า รัฐบาลต้องยกเลิกหมดเกือบทุกโครงการในประเทศไทย เพราะโครงการอีกมากมายก็อาจมีทุจริตได้ ไม่เว้นแม้แต่การจัดซื้อจัดจ้างและโครงการวิจัยพัฒนาของพวกนักวิชาการในมหาวิทยาลัยของรัฐฯด้วย ทางออกจึงไม่ใช่เลิกโครงการ แต่เป็นการปรับปรุงการดำเนินการให้รัดกุม โปร่งใส มีรั่วไหลให้น้อยที่สุด ปราบปรามจับกุมและลงโทษผู้ที่ทุจริตอย่างเด็ดขาด

ส่วนการขาดทุนของโครงการรับจำนำอันเกิดจากข้าวเสื่อมคุณภาพและการระบายข้าวออกในราคาต่ำนั้น อยู่ที่ฝีมือการบริหารสต็อกข้าวของกระทรวงพาณิชย์ว่า จะสามารถระบายข้าวออกไปได้อย่างรวดเร็วและในราคาที่ไม่ต่ำจนเกินไปได้หรือไม่ ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ระบายออกจำนวนเพียงเล็กน้อยให้กับตลาดภายในประเทศ และมีข้อผูกพันขายข้าวผ่านรัฐบาล (จีทูจี) อีก 7 ล้านตันในช่วงปี 2555/56 สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือ เร่งระบายข้าวออกไปเพื่อเปิดสถานที่เก็บให้กับข้าวฤดูใหม่ปี 2555/56 และให้ได้เงินหมุนเวียนกลับมาบริหารโครงการต่อ

ตัวเลขการขาดทุนสำหรับโครงการรับจำนำข้าวปีการผลิต 2554/55 นั้น หลายฝ่ายคำนวณได้ใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ตัวเลขขั้นต่ำ 50,000 ล้านบาทโดยกระทรวงการคลัง ไปจนถึง 80,000 ล้านบาทโดยสมาคมโรงสีข้าวไทย ซึ่งไม่ได้เกินกว่าความเสียหาย 90,000 ล้านบาทในโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนตัวเลขขาดทุนถึงกว่าสองแสนล้านบาทที่นักวิชาการบางค่ายกล่าวหากันนั้น ก็คือตัวเลข "ยกเมฆ" ที่สมมติว่า สต็อกข้าวปัจจุบันของรัฐบาลนั้นเน่าเสียทั้งหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การที่นักวิชาการกลุ่มนี้ไม่ได้เพียงแค่แสดงความคิดเห็นต่างทางวิชาการเท่านั้น แต่ถึงกับใช้วิธีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รู้ดีว่า ศาลรัฐธรรมนูญก็คือกลไกของพวกเผด็จการที่ใช้ทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและมีท่าทีชัดเจนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยปัจจุบัน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเปิดช่องให้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญใช้ตุลาการเข้ามาแทรกแซงอำนาจบริหารอีกครั้ง และอาจนำไปสู่การทำลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ชนะเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม ดังเช่นที่ได้ทำลายรัฐบาลพรรคพลังประชาชนไปแล้วนั่นเอง

การที่ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ สื่อมวลชนกระแสหลัก พ่อค้าผู้ส่งออกข้าว องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการปัญญาชนที่บูชาเผด็จการจารีตนิยมต้องเคลื่อนไหวอย่างหนักก็เพราะ หากนิ่งเฉยปล่อยให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทำโครงการนี้ต่อเนื่องได้สำเร็จ พรรคเพื่อไทยก็จะชนะเลือกตั้งรอบหน้าด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นเพิ่มขึ้นอีกมากนั่นเอง

แต่การที่คนพวกนี้อ้างเอาโครงการรับจำนำข้าวเพื่อดึงศาลรัฐธรรมนูญเข้ามานั้น และหากศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยทั้งที่ไม่มีอำนาจ พวกเขาก็กำลังเร่งนำความพินาศมาสู่พวกเผด็จการไทยให้เร็วยิ่งขึ้นไปอีก คือการผลักให้ชาวนาทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวนาในภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ให้หันมาสนับสนุนรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและเป็นแนวร่วมของคนเสื้อแดงอย่างรวดเร็วและได้ผลที่สุด

หรือว่า เราใกล้จะได้เห็นภาคจบของมหากาพย์เรื่องนี้กันเสียที!


รมช.ณัฐวุฒิ ตอบกระทู้โครงการรับจำนำข้าว ประชุมสภา 07 2 56
- ตอบคำถามแรก นาที 1.58 ถึง นาที 5.30
- ตอบคำถามที่สอง นาที 13.08 ถึง นาที 17.00
- ตอบคำถามที่สาม นาที 26.28 ถึง นาที 29.32
- ใช้สิทธิ์พาดพิงตบท้าย นาที 34.07 ถึง นาที 35.46
"ผมได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ขององค์การคลังสินค้าซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบข้าวในโกดังเดินทางมารับมอบข้าวกระสอบนี้ และนำไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ....."


ข่าวรอยเตอร์มาจากข่าวนี้นี่เอง อ่านไปอ่านมาก็มาจากไทย
By: this is thailand เว็บ pantip

ทำไมพวกแปลข่าว:-)ชอบตัดต่อข่าว ไม่เอาเนื้อหาลงให้ครบ น่าเอาส้นเท้าลูบหน้าจริง

IMF เค้าพูดตั้งแต่เดือน june

เนื้อหาในข่าวก็มาจากข่าวในไทยทั้งนั้น เอาข่าวไทยไปเขียนเป็นภาษาอังกฤษ

(Reuters) - Thailand's government is under growing pressure to cut its guaranteed price for rice which is so high exports have slumped, and even some farmers accept a cut might be needed, but it may find it politically hard to back down.

The government is paying farmers 15,000 baht ($490) per metric ton (1.1023 tons) for their rice and, since exporters are unable to find buyers at that level, it has ended up with about 12 million metric tons in state stockpiles, more than it exports in a good year.

(Reuters) - Thailand's government is under growing pressure to cut its guaranteed price for rice which is so high exports have slumped, and even some farmers accept a cut might be needed, but it may find it politically hard to back down.

The government is paying farmers 15,000 baht ($490) per metric ton (1.1023 tons) for their rice and, since exporters are unable to find buyers at that level, it has ended up with about 12 million metric tons in state stockpiles, more than it exports in a good year.

http://www.reuters.com/article/2012/10/09/us-thailand-rice-idUSBRE8981DS20121009