จะรีบไปไหน...จะรีบไปไหน...รอโหลดซักกะเดี๋ยวนะตะเอง...


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

24 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)

@ เมื่อผมไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคมปี 1972.....ผมมีเงินติดตัวไป $80.00... ตอนที่ 8...กลับไปทำงาน 2 job ใหม่ กลับเมืองไทยครั้งแรกหลังจากที่จากมาแล้วเกือบสิบปี เริ่มค้าขาย ชีวิตหักเหอีกครั้ง
@ ชีวิตหมอที่ไม่ได้ไปอเมริกา By: kimeng suk
@ สาเหตุที่มึงป่วย...เพราะ...โง่...
@ โครงการแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 ของนายกฯปู สร้างอัจฉริยะสุดคุ้ม
@ รมว.ศธ. ให้โอวาทแก่นักเรียนโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓
@ ข้อเท็จจริงเรื่องน้ำท่วมสุโขทัย จากคนสุโขทัยตัวจริง & มติชนสัมภาษณ์"หม่อมเต่านา"
@ โอ้กรุงเทพเมืองฟ้าอมร สมเป็นนครมหานที...
@ อยากจะบอกคน กทม. ฝั่งตะวันออก ว่า รัฐบาลเขาเตรียมยังไง เรื่องน้ำ พร้อมภาพประกอบ
@ พิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงฮาจาห์ ฮาฟิซาห์ ซูรูรุล โบเกียะห์ พระธิดาสุลต่านบรูไน
@ ขอต้อนรับ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะ สู่มหานครนิวยอร์ก คลิกที่นี่...
@ มาร์คครับ หยุดเถิดครับ อย่าออกมาพูดเรื่องจริยธรรมให้มากกว่านี้เลยครับ
@ เฉลิมจี้ ปชป.บอกโกงจำนำข้าวให้หาหลักฐานมาแจง ไม่ใช่พูดไปเรื่อยแต่ไม่มีข้อมูล

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ โหลดเก็บไว้ในcomเชิญคลิกที่นี่...

อันตราย!!! คุณ"อ่านข้อความยาวๆ"ได้หรือไม่????? คุณพิสูจน์ได้...

การที่เรียกว่า"สมาธิสั้น"นั้นเป็นการเรียกที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก จริงๆแล้วต้องเรียกว่า"สมาธิบกพร่อง" ทั้งนี้เพราะบางคนที่เป็น ไม่ได้มีปัญหาตรงที่มีสมาธิในช่วงสั้นๆ แต่มีปัญหาในเรื่องของ การควบคุมสมาธิและการปรับเปลี่ยนสมาธิ (Selective Attention) มากกว่า


สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
By: Marketing Hub

มุมมองของผมต่อไปนี้ อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไปนะครับ เพราะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ทั้งในฐานะที่เคยเรียน MBA และในฐานะคนที่เคยไปบรรยายในหลักสูตร MBA มาบ้าง คิดว่าอาจจะพอแชร์มุมมองต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ ผมเผยแพร่ไปทาง Twitter @worawisut และพบว่ามีผู้ที่สนใจจำนวนมาก จึงอยากจะรวบรวมไว้ เผื่อง่ายต่อการแบ่งปันต่อครับ

ประสบการณ์หนึ่งที่เคยเจอในคลาส ตั้งแต่ ตรี-โท ทั้งหลักสูตร MBA, Mini MBA หลักสูตรผู้ประกอบการต่างๆ พบว่า "ยิ่งโต ยิ่งแชร์" ชอบพูดยาวๆ มีมุมมองที่ดี ทั้งในภาพกว้างและในเชิงลึก ช่วยให้คลาสเรียนมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าจะมีคนจำนวนไม่น้อย มองการเรียน MBA เป็นเรื่องของแฟชั่นและใช้ปริญญาไต่เต้าหาความก้าวหน้าในอาชีพเพียงอย่างเดียว ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ผิด เพียงแต่จะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่เท่าที่ควร แต่สำหรับคนที่คิดว่า อยากจะเรียน MBA ให้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไปหลายๆแสน (ทั้งเก็บเงินเองหรือจะขอจากพ่อแม่ก็ตาม) มีอะไรที่ควรคิดบ้าง ก่อนที่จะตัดสินใจ

เริ่มต้น ต้องขอบอกว่า การเรียน MBA ที่คุ้มที่สุด ต้องเรียนกับคนแก่ๆ ครับ เพราะการเรียนกับเด็ก จะไม่ได้มุมมองและประสบการณ์เพิ่มเติมมากเท่าที่ควร เพราะประสบการณ์ทำงานน้อย จะไม่ค่อยมีอะไรมาแชร์ให้เพื่อนร่วมชั้นฟังซักเท่าไหร่

เพราะคลาสเรียนที่มีแต่เด็ก

1. คุณไม่มีอะไรจะไปแชร์เค้า

2. เค้าก็ไม่มีอะไรจะแชร์คุณ เวลา discuss กลุ่มก็จะได้มุมมองไม่ที่แหลมคมอย่างที่ควร บางทีอาจจะออกแนวจับกลุ่มนั่งเม้าท์เรื่องละคร กอสซิบต่างๆ

ทำให้หลายๆคนที่เคยเรียน MBA ตอนเด็ก ซักพักเมื่ออายุมากขึ้นก็อยากจะไปเรียนโทอีกใบ เพื่อเอา Connection เพราะการทำธุรกิจสำคัญที่สุดคือ "Know Who" ไม่ใช่ "Know How"

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมที่จะเรียน MBA ควรทำงานไปอย่างน้อย 3-5 ปี แล้วค่อยเรียน

ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุด ให้ไปเรียนหลักสูตรระดับ Executive เลย เพราะจะได้รับประสบการณ์และเครือข่าย (Networking) ที่ดีกว่าหลักสูตรอื่นๆแบบเทียบไม่ติด

เนื่องจาก "MBA เด็กจบใหม่" (หลายๆที่จะเรียกว่า "Regular MBA") ที่มักจะเรียนภาคกลางวัน มักจะไม่ได้จำกัดประสบการณ์ของผู้เรียน (หรือจำกัดอย่างมากก็ 1 ปี) ก็จะกลายเป็นคลาสที่รวมเด็ก (อาจจะมีระดับโตขึ้นมาบ้าง แต่ส่วนน้อยมากๆ) ทำให้ความรู้ที่ได้จากการเรียน มาจากห้องเรียน มาจากอาจารย์ซะเป็นส่วนใหญ่

สำหรับข้อดีของ "Regular MBA" คือ การเรียนในเวลาราชการ ค่าเรียนจะถูกกว่าภาคพิเศษมาก และผู้เรียนจะเรียนแบบสบายๆชิลล์ๆหน่อย ไม่ต้องมาเหนื่อยจากการทำงาน เพราะมีโฟกัสอยู่อย่างเดียว คือ "เรียน" จึงมีเวลาได้ศึกษาวิชาการอย่างเต็มที่

ผู้ที่เรียนจบหลักสูตร "Regular MBA" ถ้าเป็นลูกจ้าง ความรู้ที่เรียนมา จะได้ใช้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับหัวหน้างาน ผู้ที่กำหนดชะตาชีวิตการทำงานของเรา สามารถสั่งให้เราทำอะไรก็ได้ โดยที่เราไม่มีสิทธิ์เลือก แผนการตลาดที่เราซ้อมเขียนมาตอนเรียน อาจจะไม่ได้ใช้อีกเลย รวมไปถึงความรู้อื่นๆที่มีโอกาสจะลืมเพราะไม่ได้ใช้

แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ กิจการของท่านก็จะกลายเป็นห้องทดลองในสิ่งที่เรียนมา

ในระดับที่โตขึ้นมาอีกหน่อย มักจะเรียกหลักสูตรนี้ว่า "Young Executive MBA" ที่จะรับคนมีประสบการณ์ 3 ปีขึ้นไป (ซึ่งมักจะเป็นพนักงานที่ Senior ขึ้นมาหน่อยจาก Staff ธรรมดา ไปจนถึง Middle Manager) ซึ่งความรู้ที่ได้จากการเรียนในหลักสูตรนี้ จะมีประสบการณ์ของคนระดับปฏิบัติการ เพิ่มขึ้นมา เช่น ปัญหาภายในบริษัทในแง่มุมทางการตลาด ทรัพยากรบุคคล การเงิน หรือ ปัญหาการผลิตในโรงงาน บางครั้งอาจจะไม่รู้สึกว่าได้อะไรมากนัก เพราะระดับความรู้ใกล้เคียงกัน อายุก็อยู่ในวัยเดียวกัน (25-35 ปี)

มาถึงระดับ "Executive MBA" (มักจะรับคนที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี ขึ้นไป) สิ่งที่เราจะได้ คือ มุมมองของคนที่อยู่ในระดับบริหารขององค์กร ที่จะผ่านปัญหามามากมาย จนเคี่ยวกรำให้เค้าเหล่านั้น มีความคิดในการมองปัญหาในมุมกว้าง มีมุมมองด้านยุทธศาสตร์ขององค์กร เพราะเค้าอาจจะมีส่วนร่วมกับทีมผู้บริหารเพื่อผลักดันแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ และที่สำคัญ เรื่องของการสร้าง Network และ Connection ต่างๆ และอาจจะมีการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) การเป็นพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพิ่มขึ้นมา

ในระดับบริหาร ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ เพียงแค่การพูดคุยบนโต๊ะอาหารเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการและ Middle Manager แทบไม่มีโอกาสเช่นนี้เลย

ทั้งในระดับ "Young Executive" และ "Executive" จะเรียนเวลานอกราชการ ไม่หลังเลิกงานก็เสาร์อาทิตย์ ทำให้ตัวคนเรียน แทบจะไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น วันหยุดเสาร์อาทิตย์ของเราจะหายไป 2 ปี หรือเวลาช่วงเย็นของเราก็จะหายไป 2 ปีเช่นกัน ดังนั้นคนที่มีแฟน ถ้าใจไม่แข็งจริง เลิกกันแน่ๆครับ เพราะคุณจะไม่เหลือเวลาให้แฟนคุณอีกเลย จนนำพามาซึ่งการงอนกัน ทะเลาะกัน เลิกกัน และจับคู่กันเองในคลาส:)

แต่อย่าคิดนะครับว่า เราไม่ได้เรียนทุกวัน ก็จะมีเวลาว่าง เพราะเวลาว่างที่เหลือ คุณจะต้องเอามาทำรายงาน ทำงานกลุ่ม ที่อาจารย์ผู้สอน มักจะให้มาทำ โดยที่ไม่สนใจว่าเราจะงานยุ่งหรือมีเวลาน้อยแค่ไหน ถ้าเคี่ยวจริงๆ ในทุกๆสัปดาห์ จะต้องมีรายงานส่ง ซึ่งแน่นอน มีหลายวิชา เราก็จะต้องทำงานกับกลุ่มเพื่อนหลายกลุ่ม แทบจะแยกร่างเลยทีเดียว

ดังนั้น ถ้าไม่รีบ การเรียน MBA เมื่อเรามีประสบการณ์ซัก 5-10 ปี (Executive MBA) จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด แต่ถ้าอยากเรียนเร็วๆ ระดับ "Young Executive" ก็จะทำให้เราได้ทั้งความรู้ในชั้นเรียน และได้ประสบการณ์ในเชิงของการทำงานปฏิบัติการ ส่วนเรื่อง Connection ก็อาจจะได้เพื่อน ที่ทำงานอยู่ในระดับใกล้ๆกัน (ไม่มีใครรู้ว่า คนเหล่านี้จะเติบโตในเส้นทางอาชีพไปยังระดับบริหารได้หรือไม่ ซึ่งถ้าเวลานั้น ยังคบกันอยู่ ก็ถือว่าดี แต่เนื่องจากระยะเวลายาวนาน การรักษาความสัมพันธ์อาจจะไม่ยั่งยืน)

ผมเคยอยู่ในคลาสที่ชั้นเรียนมีแต่ SME พบว่าประสบการณ์ที่แต่ละคนเล่า มีคุณค่ามาก อาจารย์ไม่มีทางถ่ายทอดได้เหมือนกับคนที่ลุยมาเอง เจอมาเอง รู้ว่าทฤษฏีไหน เอาไปใช้ได้ หรือเอาไปใช้ไม่ได้บ้าง

สิ่งสำคัญที่สุดของ MBA คือ ประสบการณ์ของเพื่อนร่วมชั้นและ Connection

ส่วนความรู้ก็อ่านเองได้ตามตำรา (แม้ว่าการอ่านเอง จะยากและใช้เวลามาก แต่ก็อยู่ในวิสัยที่ไม่น่าจะเกินความพยายาม) ส่วนเคสที่ใช้เรียนก็มักจะไม่ลึกเท่าประสบการณ์จริง

แต่สิ่งที่ทุกคลาสเรียน MBA สอนเราเหมือนกัน คือ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานกับคนหลากหลายอาชีพ ที่มี character ต่างกัน เพื่อเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับคนเหล่านี้

ส่วนตัว ถ้ามีคนมาถามว่าควรเรียน MBA มั้ย ตอบว่าควร แต่ต้องเลือกหลักสูตร ถ้ามีแต่เด็ก อย่าไปเรียน เพราะเราจะได้แค่สิ่งที่อยู่ในตำราเท่านั้น คุณค่าด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ Connection เป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล จนไม่สามารถตีมูลค่าได้ครับ:)


MBA เค้าเรียนอะไรกันบ้าง?????

แม้ว่าหลายๆคนที่เรียน MBA จะพยายามศึกษาหาข้อมูลก่อนเรียนมามากมาย จากเว็บไซต์ หรือการไปร่วมงาน Open House ที่ทางเจ้าของหลักสูตรจัด บางครั้ง ก็ไม่ได้ทำคลายข้อสงสัยของเรา เกี่ยวกับเนื้อหา วิชาที่สอน ได้

ผมขอเล่าแบบคร่าวๆนะครับ

วิชารากฐานที่สำคัญที่สุดของ MBA คือ "บัญชี" ทั้งบัญชีการเงิน (Financial Accounting) และ และ บัญชีต้นทุน (Cost Accounting)

1. บัญชีการเงิน เป็นรากฐานของการอ่านงบการเงิน เป็นการเรียนเพื่อไปต่อยอดสู่วิชาการเงินทุกอย่าง

2. บัญชีต้นทุน เป็นรากฐานไปสู่ การตลาด และ Operation

จะเกลียดบัญชี หรือ ตัวเลข ถ้าอยากเรียน MBA แบบไม่มีปัญหา ต้องเข้าใจมันให้ได้ ดีที่สุดคือ หาเพื่อนที่จบบัญชี ช่วยตอบคำถามได้หมด เด็กสายศิลป์จะกลัววิชานี้มาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับกันหมด แต่สุดท้ายอยู่ที่ความขยัน ถึงเวลาจะเอาตัวรอด ก็ทำได้ดีกันทุกคน:)

มีคนถามว่า MBA จำเป็นมั้ย ความเห็นส่วนตัว คิดว่า ไม่ได้เรียนก็ไม่ถึงกับทำให้เราทำธุรกิจไม่สำเร็จ แต่เรียนเอาไว้เสริมเขี้ยวเล็บดีกว่า

และการเรียน MBA ก็ไม่ได้มีอะไรรับประกันว่าจะทำธุรกิจสำเร็จ จะเก่งการตลาด หรือ การเงิน คงไม่ใช่แบบนั้น

หลักการง่ายๆของการเรียน MBA คือ เมื่อเรียนเข้าใจ เวลาพลิก นสพ.ไปอ่านข่าวหน้าธุรกิจ เศรษฐกิจ คุณจะอ่านเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ที่มาที่ไปได้

อย่างเช่น เวลาราคาทองพุ่ง คนที่เข้าใจจะรู้ได้ทันทีว่าเกิดจากอะไร เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกยังไงบ้าง เพราะพื้นฐานหนึ่งของ MBA คือ เศรษฐศาสตร์

จากที่เคยได้แต่นั่งงง ว่า สิ่งที่ รมต.คลัง ผู้ว่าแบงค์ชาติพูด คืออะไร ต่อไป เราจะเริ่มเข้าใจมันมากขึ้นครับ:)

เทอมแรกของการเรียน MBA ส่วนใหญ่ จึงมีวิชาพื้นฐาน คือ เศรษฐศาสตร์ บัญชี สถิติ และภาพรวมของการบริหารทั่วไป

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่แตกตัว กลายมาเป็นการตลาด จึงเป็นรากฐานสำคัญของหลักการตลาดทั้งหมด เป็นวิชาหลักที่ต้องเรียนเป็นตัวแรกๆ

เศรษฐศาสตร์ก็จะแบ่งเป็น มหภาค (Macroeconomics) และ จุลภาค (Microeconomics) ซึ่งตัวหลังสำคัญมากๆสำหรับธุรกิจ และหลายคนบอกว่ายากกว่าตัวแรก

Macro จะเรียนพวก GDP เรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจ เราฟังข่าว อาจจะเข้าใจว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นเรื่องดี แต่ถ้าประเทศต้องก่อหนี้เพื่อการขยายตัวอาจจะไม่ดีแล้วก็ได้ (โตบนกองหนี้) ซึ่งจะช่วยให้เรามองผลกระทบกับธุรกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาค ว่ามันกระทบกับธุรกิจเรายังไง

อย่าคิดว่า Macroeconomics ไกลตัวนะครับ ขายกล้วยทอด ก็เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ราคาพืชผลเกษตร ถุงกระดาษทำนองนี้ มันเชื่อมโยงกันไปหมด

ส่วนพวก Microeconomics จะเกี่ยวกับพวก Demand/Supply การตั้งราคาต่างๆ ซึ่งใช้กับ Marketing ทั้งนั้น

แต่อย่าเพิ่งกังวลว่าจะต้องเรียนจนรู้เรื่องแบบ รมต.คลัง จริงๆเอาแค่พอรู้ก็พอ เพราะมันยากพอสมควร

วิชาต่อมา บัญชีการเงิน (Financial Accounting) วิชานี้เป็นหัวใจของ Finance เรียนจบจะอ่านงบการเงินเป็น พวก Annual Report ต่างๆ

ถ้าท่านอยากเป็นเจ้าของกิจการ หนีไม่พ้นเรื่องบัญชีและการเงิน แม้ว่าอาจจะไม่ต้องทำเอง แต่ควรอ่านเป็นและเข้าใจที่มาที่ไป ไม่ให้คนอื่นมาหลอกได้

วิชาบัญชีการเงินนี้ ถ้าผู้สอน ชำนาญ จะสามารถสอนเรื่องการตกแต่งบัญชีและการตรวจสอบ จะได้เรียนเคสดังๆพวก Enron และอื่นๆ สนุกมาก

โชคดี อาจารย์ที่สอน Financial Accounting ผม เป็น ประธานคณะกรรมการมาตรฐานบัญชี เลยมีเคสของไทยมาเล่าบ้าง เช่น จุดไหน ที่บัญชีมักจะตกแต่ง

วิชา Financial Accounting เป็นวิชาที่เชื่อมโยงกับ Finance ที่จะได้เรียนเทอมต่อๆไป พวกสูตรทางการเงินต่างๆ ที่พวกนักการเงิน นักเล่นหุ้น ควรรู้ ตัวเลขที่คำนวณต่างๆก็ดึงมาจากการอ่านงบการเงินทั้งสิ้น

เมื่อเรียนจนเข้าใจมันจริงๆ แค่เห็น Financial statement ขององค์กร ก็รู้ทันทีว่าองค์กรดีหรือไม่ดี มีจุดอ่อน จุดแข็งยังไง ทะลุปรุโปร่ง ที่สำคัญ คนที่คิดจะเล่นหุ้น วิชานี้ ต้องตั้งใจเรียนดีๆครับ:)

วิชาสุดท้ายของเทอมแรก ที่มักจะเรียน คือ การวิเคราะห์ทางสถิติ (ชื่อเล่นว่า stat) ซึ่งเป็นวิชาที่เด็กสายศิลป์ เกลียดมากๆ :)

วิชา stat นี้ จะได้เรียนหลักการนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญมาก ของวิชา Marketing Research (วิจัยตลาด) ใครจะเรียนการตลาด หนีไม่พ้นเช่นกัน:)

วิชา stat จะได้เห็นว่า โพลล์บ้านเราที่ออกข่าวอยู่ทุกวัน ไม่มีมาตรฐานยังไงบ้าง คนสอนเก่งๆ จะแผ่ให้ท่านเห็นได้เลย

จบวิชา stat สิ่งที่เราจะได้ คือ 1. อ่านโพลล์เป็น 2. รู้วิธีทำโพลล์คร่าวๆ 3. การใช้โปรแกรม SPSS ซึ่งเป็นยาขมอย่างมาก :)

เทอมต่อมา สำหรับหลักสูตร MBA ก็จะได้เรียน การจัดการการตลาด (Marketing Management) ซึ่งท่านสามารถขอตำราจากเพื่อน ป.ตรี ที่เรียนได้

Marketing Management จะเป็นวิชาพื้นฐานที่โคตรจะสำคัญ เพราะจะเรียนหลักการตลาดทั้งหมด หนังสือที่ใช้กันทั่งโลก คือ หนังสือของ Kotler (Marketing Management)

หลักการของการตลาด มีให้จับไม่กี่อย่าง (แต่สำคัญและต่อยอดได้เยอะ) คือ

1. Marketing Mix (4P) 2. STP (Segmentation ,Targeting และ Positioning) 3. Branding

จบวิชา Marketing Management ท่านจะเขียน แผนการตลาด (Marketing Plan) เป็น วิเคราะห์กลยุทธการตลาดได้ รู้ศัพท์แสงต่างๆที่มักใช้กันในวงการ

คนที่บอกว่าคุณตัน เก่ง ไม่เห็นต้องเรียนการตลาดเลย ขอบอกว่า เพราะคุณตัน แม่นเรื่อง 4P และ STP มาก สามารถหยิบจับ Mix แต่ละตัวมาใช้โดย sense

ไม่มีใครที่สำเร็จ ร่ำรวย ขายของได้เยอะ โดยไม่รู้หลักการตลาด จริงๆคือ เอามาใช้ตามหลักน่ะแหล่ะ อาจจะไม่รู้มาก่อน เพราะมี Sense ดี ขายเก่ง

Marketing สำหรับธุรกิจ อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะเกี่ยวข้องกับสินค้า ลูกค้า ความพึงพอใจ ถ้าเก่ง Marketing ทำอะไรก็รุ่ง

ส่วน อีกวิชาที่สำคัญสำหรับเจ้าของกิจการ คือ การเงิน ที่นอกจากจะช่วยให้อ่านงบการเงินเป็น ยังช่วยให้เข้าใจการบริหารจัดการงบด้วย

หลักการสำคัญที่สุดที่ได้จากวิชา Financial Management คือ ต้นทุนของเงิน (Cost of Capital) และ 'งบลงทุน (Capital Budgeting)

ข้อแรก ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) เป็นหลักสำคัญของการดำเนินและขยายกิจการ ว่าจะต้องใช้ "เงินกู้" หรือ "เงินกู"

เพราะต้นทุนของเงินทุน จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกิจการ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ถ้าตัดสินใจผิด กิจการจะลำบาก

ส่วนเรื่อง งบลงทุน (Capital Budgeting) จะสำคัญอยู่ที่ การเลือกลงทุนในโปรเจคต์ไหน ที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุดและเสี่ยงน้อยที่สุด

อีกวิชาที่เป็นฐานรากสำคัญของ MBA โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการผลิตหรือโรงงาน คือ Operation Management ที่น่าจะได้เรียนแน่ๆคือเรื่อง Lean และ TPS (Toyota Production System)

วิชา Operation Management ท่านอาจจะมีโอกาสได้เห็นกับตาตัวเองว่า Toyota Vios ใช้เวลาประกอบแค่ 1 นาทีกว่าๆ ออกมาเป็นรถยนต์ 1 คัน เค้าทำยังไง

หลักการที่สำคัญของวิชานี้คือ การทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (เช่น ผลิตได้เยอะตามความต้องการ ด้วยจำนวนชั่วโมงที่ลดลง ใช้คนงานน้อยลง เป็นต้น)

วิชาที่เป็นหัวใจของแผนก HR คือ วิชา Organization Behavior เรียนเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคนในองค์กร เมื่อคนจำนวนมากมาอยู่ด้วยกัน พฤติกรรมกลุ่ม การตอบสนองต่อแรงจูงใจต่างๆ จะเกิดผลทั้งในแง่บวกและลบ เช่น การตำหนิลูกน้องเมื่อทำผิด หรือให้รางวัลเมื่อทำดี จะส่งผลอย่างไรกำลังใจของคนนั้น

คนประสบการณ์น้อย ไม่เคยเจอปัญหา อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าจะเอาทฤษฎีมาจับของจริงได้ยังไง เรียนไปก็งงไป

ถ้าคนมีประสบการณ์ หรือเคยเป็นหัวหน้า จะนึกภาพออก เทียบกับสิ่งที่ตัวเองเจอมา หรือสิ่งที่ตัวเองเคยทำ สะกิดใจได้ทันทีว่าที่เราเคยทำมาถูกหรือผิด

จากนั้นก็จะเป็นพวกวิชาเลือก ถ้าเรียน Marketing ก็อาจจะมีเรียน IMC (ที่ไหนมีแนะนำเรียน เพราะเป็นวิชาที่สนุกที่สุดของ Marketing)

วิชาของ Marketing อันนึงที่น่าสนใจมาก คือ วิจัยตลาด (Marketing Research) วิชานี้เรียนจบแล้วหัวหงอก หน้าแก่ เพราะงานหนักมาก ทำเอาหลายคนท้อใจ

วิชา Marketing Research จะได้เรียนสิ่งที่เรียกว่า Quantitative Research หรือการวิจัยเชิงปริมาณ ทำแบบสอบถามเป็นร้อยๆชุดเพื่อตอบโจทย์การตลาด

หลายคนอาจจะคิดว่า Marketing เป็นวิชาที่ใช้ Sense แต่ถ้ามาเรียน Research จะรู้ว่า มันอธิบายได้เป็นตัวเลขเลย เช่น ยอดขายตกหรือเพิ่มมาจากอะไร

ในวิชา Research การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จะไม่ถูกให้ความสนใจมากนัก ในทางวิชาการไม่ได้เชื่อถือ แต่ธุรกิจกลับนิยมใช้

ส่วนวิชาเลือกอื่นๆก็แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเรียน Major ไหนเป็นหลัก แต่วิชาสุดท้ายที่จะได้เรียนเหมือนกันทุกที่ คือ Strategic Management

วิชาที่สำคัญที่สุดของ MBA ทุกคลาส คือ Business Policy หรือ Strategic Management จะสอนให้รู้จักวิเคราะห์ธุรกิจ มองทิศทาง กลยุทธ์ โดยภาพรวม ในช่วงใดของธุรกิจ ควรดำเนินกลยุทธ์แบบไหน เรียกได้ว่า แทบจะดึงเอาสรรพวิชาที่เรียนกันมาตั้งแต่เทอมแรก มาใช้เมื่อดูภาพของธุรกิจ

จบท้าย บางมหาวิทยาลัยอาจจะมีเรียน คือ วิชา "Business Audit" วิชานี้ จะเป็นการมององค์กรแบบภาพใหญ่ โดยใช้หลักการทุกอย่างที่เรียนมา เข้ามาจับเป็นส่วนๆ จบไปจะต้องมองภาพธุรกิจออกว่ากำลังรุ่งหรือมีปัญหา

ข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆ ถ้าคิดจะเรียน MBA คือ

1. รู้จักเพื่อนให้เยอะที่สุด Know Who สำคัญกว่า Know How เรารู้จักเพื่อนเยอะ เอาปัญหาขององค์กรเค้ามาเรียนรู้ สุดท้ายอาจจะได้งาน ได้ทำอะไรกัน

2. เข้าหาอาจารย์ มีอะไรจะได้สอบถามได้ อย่าอาย อย่ากลัว และหัดยกมือถามอาจารย์ในห้องบ่อยๆ เค้าจะได้จำเราได้ ทำให้เข้าหาได้ง่ายขึ้น

3. งานกลุ่มเป็นโอกาสลับสมอง ฝึกวิชาที่เรียน ถ้าเป็นไปได้ "อย่ากินแรงเพื่อน" แบ่งอะไรมาก็ต้องทำให้เสร็จตามกำหนด เพื่อนจะได้ไม่ลำบาก

4. ก่อนเลือกเรียน MBA ที่ไหน ต้องสำรวจก่อนเลยว่า 1. อายุเพื่อนร่วมคลาสเป็นยังไง สัดส่วน เด็ก คนมี ปสก.มากๆเป็นยังไง เราจะได้เรียนรู้จากเพื่อน สัดส่วนของคนเรียนจบอะไรมา ทำงานอะไรมา เพราะเราจะได้ความหลากหลายทางความคิด จากความหลากหลายของอาชีพ ประสบการณ์ข้ามธุรกิจและอุตสาหกรรมสำคัญ

เกร็ด MBA ข้อสุดท้าย :

1. คนที่มีแฟน มากกว่า 80% ในคลาส จะเลิกกับแฟนเพราะมาเรียน MBA

2. คนในคลาส MBA จะจับคู่กันเอง จบมาแต่งงานหลายคู่เลย

ขอให้ทุกท่าน โชคดีในการเรียน MBA และ อย่าลืม ติดตามคอลัมน์ Marketing Hub ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ทุกวัน พฤหัสฯ ครับ:)

Comment...

By Thanawut: ...ทั้งในระดับ "Young Executive" และ "Executive" จะเรียนเวลานอกราชการ ไม่หลังเลิกงานก็เสาร์อาทิตย์ ทำให้ตัวคนเรียน แทบจะไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น วันหยุดเสาร์อาทิตย์ของเราจะหายไป 2 ปี หรือเวลาช่วงเย็นของเราก็จะหายไป 2 ปีเช่นกัน ดังนั้นคนที่มีแฟน ถ้าใจไม่แข็งจริง เลิกกันแน่ๆครับ เพราะคุณจะไม่เหลือเวลาให้แฟนคุณอีกเลย จนนำพามาซึ่งการงอนกัน ทะเลาะกัน เลิกกัน และจับคู่กันเองในคลาส:)...

By Thanawut: ...แต่อย่าคิดนะครับว่า เราไม่ได้เรียนทุกวัน ก็จะมีเวลาว่าง เพราะเวลาว่างที่เหลือ คุณจะต้องเอามาทำรายงาน ทำงานกลุ่ม ที่อาจารย์ผู้สอน มักจะให้มาทำ โดยที่ไม่สนใจว่าเราจะงานยุ่งหรือมีเวลาน้อยแค่ไหน ถ้าเคี่ยวจริงๆ ในทุกๆสัปดาห์ จะต้องมีรายงานส่ง ซึ่งแน่นอน มีหลายวิชา เราก็จะต้องทำงานกับกลุ่มเพื่อนหลายกลุ่ม แทบจะแยกร่างเลยทีเดียว...


@ รายละเอียดอื่นๆ คลิกดูที่นี่...
By Thanawut: แนะนำให้เรียน MBA ที่นี่ ดีที่สุด...
อย่าได้หลงเข้าไปเรียนบางสถาบันที่ชาวนาทั่วประเทศกำลังสรรเสริญกันอยู่นะครับ